พิมพ์หน้านี้ - อีกครั้งกับ Band Plan ขนาด pocket Size ของ RAST ครับ

WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND

HAMSIAM TECHNOLOGY => วิทยุสมัครเล่น (Amateur Radio) => ข้อความที่เริ่มโดย: BakaHam2014 ที่ วันที่ 16 มกราคม 2015 เวลา 09:14:41



หัวข้อ: อีกครั้งกับ Band Plan ขนาด pocket Size ของ RAST ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: BakaHam2014 ที่ วันที่ 16 มกราคม 2015 เวลา 09:14:41
(http://i76.photobucket.com/albums/j7/bakaham2014/BAKAHAM2014%20For%20HAMSIAM/ScreenShot2558-01-16at90703AM_zps0e2ddb84.png)

Band Plan ขนาด pocket Size ของ RAST ครับ
เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาฝากให้เพื่อนๆครับ ใครมีแล้วก็ขออภัยนะครับ ใครยังไม่มีโหลดเลยจ้า

http://www.rast.or.th/resources/rast_card_size_bandplan.pdf (http://www.rast.or.th/resources/rast_card_size_bandplan.pdf)

สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเป็นนักวิทยุสมัครเล่นที่ดีนั้นคือการใช้ความถี่ตามกรอบที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานได้
และออกอากาศให้ถูกต้องตามผังความถี่ที่กำหนดอย่างเคร่งครัดครับ


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับ Band Plan ขนาด pocket Size ของ RAST ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: hs6ybg ที่ วันที่ 20 มกราคม 2015 เวลา 14:22:52
ขอบคุณครับ ;D


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับ Band Plan ขนาด pocket Size ของ RAST ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Misallaba ที่ วันที่ 08 กรกฎาคม 2015 เวลา 12:11:46
กำลังต้องการอยู่พอดีเลยครับ


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับ Band Plan ขนาด pocket Size ของ RAST ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: E24GPV ที่ วันที่ 08 กรกฎาคม 2015 เวลา 13:17:23
 ;)thank :-* :-*


หัวข้อ: Re: อีกครั้งกับ Band Plan ขนาด pocket Size ของ RAST ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: hs0ynm ที่ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 11:35:06
บทความเขียนโดย เครดิต HS3LZX เห็นว่ามีประโยชน์ จึงมาโพสต์ไว้เป็นข้อมูลสำหรับทุกท่านที่เป็นนักวิทยุสมัครเล่น
อัพเดทตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอณุญาตและกำกับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น โดยได้มีการปรับปรุงแตกต่างจาก แบนด์แพลน (Band Plan) เดิมพอสมควร ความถี่เดิมที่ท่านใช้ประจำอาจจะขัดกับแบนดืแพลนใหม่นี้ก็ได้ เพราะฉนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ท่านต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง
โหมด (Mode)
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับระบบโหมด (Mode) ต่างๆ ที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่นก่อน ดังนี้
การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง (Phone) ให้ใช้รับส่งข่าวสารโดยใช้เสียงพูด (Speech)
การติดต่อสื่อสารด้วยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวดวงจันทร์ (Earth Moon Earth : EME)
การติดต่อสื่อสารสะท้อนหางดาวตก (Meteor scatter : MS)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่อง (Continous wave : CW)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่องที่มีการมอดูเลต (Modulated continous wave : MCW)
การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องกำเนิดสัญญาณ (Machine generated mode : MGM)
การติดต่อสื่อสารด้วยการผสมคลื่นแบบ Single sideband (SSB)
การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น (Satellite)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณวิทยุโทรพิมพ์ (Radio teletype : RTTY)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณข้อมูล (Data or Packet radio)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณภาพ (Image)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณโทรทัศน์แบบสแกนช้า (Slow scan television : SSTV)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณโทรทัศน์แบบสแกนเร็ว (Fast scan television : FSTV)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณพัลส์ (Pulse)
ขอบเขตการใช้คลื่นความถี่ สำหรับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 28 000 – 29 700 kHz สำหรับการติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งสัญญาณระหว่างสถานีวิทยุสมัครเล่น โดยใช้กำลังส่งไม่เกิน 100 วัตต์
กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 144 – 146.5 MHz โดยใช้กำลังส่งไม่เกิน 60 วัตต์ สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายให้ใช้กำลังส่งไม่เกิน 100 วัตต์
กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 435 – 438 MHz สำหรับการติดต่อสื่สารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น (Satellite) เฉพาะด้านรับ (Downlink) จากดาวเทียมมายังสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 1 260 – 1 270 Mhz สำหรับการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น (Satellite) เฉพาะด้านรับ (Downlink) จากดาวเทียมมายังสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
การใช้คลื่นความถี่ 144 – 146.5 MHz
กำหนดคลื่นความถี่ 144.0000 – 144.1000 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่อง (CW) และการติดต่อสื่อสารด้วยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวดวงจันทร์ (EME) โดยคลื่นความถี่ 144.0500 MHz เป็นช่องเรียกขานสำหรับ CW
กำหนดคลื่นความถี่ 144.1000 – 144.1500 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่อง (CW) การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องกำเนิดสัญญาณ (MGM) และการติดต่อสื่อสารด้วยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวดวงจันทร์ (EME)
กำหนดคลื่นความถี่ 144.1500 – 144.3750 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารด้วยการผสมคลื่นแบบ Single sideband (SSB) และการติดต่อสื่อสารสะท้อนหางดาวตก (Meteor scatter : MS) โดยคลื่นความถี่ 144.2000 MHz เป็นช่องเรียกขานสำหรับ SSB
กำหนดคลื่นความถี่ 144.3750 – 144.5000 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารประเภทอื่นดังนี้
กำหนดคลื่นความถี่ 144.3900 MHz สำหรับการสื่อสารระบบกำหนดตำแหน่งสถานีวิทยุสมัครเล่นอัตโนมัติ
(Automatic Packet Reporting System : ARPS)
- กำหนดคลื่นความถี่ 144.4125 – 144.4375 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารประเภทอื่นได้แก่ การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณข้อมูล (Data or Packet radio) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณวิทยุโทรพิมพ์ (Radio teletype : RTTY) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณภาพ (Image) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณโทรทัศน์แบบสแกนช้า (Slow scan television : SSTV) และการติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่องที่มีการมอดูเลต (Modulated continous wave : MCW)
- กำหนดคลื่นความถี่ 144.4500 – 144.4900 MHz สำหรับการใช้งานประเภทให้สัญญาณ (Beacon) ของสถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ เท่านั้น โดยกำหนดให้คลื่นความถี่ 144.4900 MHz สำหรับการใช้งานประเภทให้สัญญาณ (Beacon) แบบ WSPR
กำหนดคลื่นความถี่ 145.8000 – 146.0000 MHz สำหรับการส่งสัญญาณระหว่างดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นกับสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น