TTB ชี้เศรษฐกิจไทยตก ฉุดการเติบโตของแบงก์ไทย
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 05 พฤษภาคม 2024 เวลา 04:15:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ต้องขออภัย!!! เนื่องจากตอนนี้เว็บไซต์กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา หากมีความผิดพลาดในเว็บประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และจะเป็นการขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง หากท่านนำความผิดพลาดนั้นมาแจ้งให้กับผู้ดูแลฯ แล้วทางเราจะรีบเข้าไปแก้ไขในความผิดพลาดนั้นๆให้เร็วที่สุด
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: TTB ชี้เศรษฐกิจไทยตก ฉุดการเติบโตของแบงก์ไทย  (อ่าน 112 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Jenny937
Super Hero Member III
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11881


« เมื่อ: วันที่ 16 กันยายน 2021 เวลา 08:14:31 »




นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ TTB กล่าวถึง “อนาคตสถาบันการเงินไทย” ในงานTHAILAND NEXT The Future of Financial System อนาคตโลกการเงิน ที่จัดโดย บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป โดยระบุว่าระบบนิเวศน์ของสถาบันการเงินคือระบบเศรษฐกิจ ซึ่งหากเศรษฐกิจไม่ดี แบงก์จะไม่สามารถเติบโตได้ ทั้งนี้ระบบเศรษฐกิจไทยพึ่งพาระบบแบงก์ในสัดส่วนสูง เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจสิงคโปร์ที่พึ่งพาตลาดเงินตลาดทุนซื้อหวยออนไลน์ และเศรษฐกิจอเมริกาที่พึ่งพาตลาดตราหนี้เป็นหลัก เมื่อต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลหรือธนาคารกลางจะอัดงบลงไปที่ตลาดตราสารหนี้หรือตลาดทุน ขณะที่ไทยจะอัดเงินไปที่ประชาชนผ่านแบงก์พาณิชย์

 

ผู้บริหาร TTB กล่าวว่า สิ่งที่น่าสนใจ คือ GDP ของไทยสร้างโดยบริษัทขนาดใหญ่ ขณะที่บริษัทขนาดเล็กสร้างงาน ถึง 17 ล้านคน ดังนั้นการเติบโตของบริษัทรายใหญ่ทำให้เกิดการรวยกระจุก ส่วนบริษัทรายเล็กราย เมื่อรายได้ไม่ดี ก็ทำให้คนพลอยตกงานไปด้วย ทำให้เกิดการจนกระจาย ทั้งนี้ตั้งแต่ก่อนเกิดโควิดระบาด พบว่าบริษัทขนาดกลางและเล็กเริ่มติดหล่ม และติดหล่มมากขึ้นเมื่อเจอวิกฤตโควิด ส่งผลให้แบงก์พาณิชย์ติดหล่มไปด้วย


โดยบทบาทของธนาคารพาณิชย์ คือ การกระจายทรัพยากร หรือ เงินฝากของคนในชาติและของภาคธุรกิจที่ปัจจุบันมีประมาณ 13 ล้านล้านบาท โดยกระจายไปสู่ 3 กลุ่ม คือ ธุรกิจใหญ่ ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก และประชาชนทั่วไป ซึ่งเงินฝากเกือบ 1 ใน 3 ถูกกระจายไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งถือว่าไม่มาก เพราะธุรกิจขนาดใหญ่ยังสามารถพึ่งพาตลาดทุนตลาดตราสารหนี้ได้ แม้ยังทำกำไรได้ แต่ก็ต้องพบปัญหา เพราะการเติบโตในประเทศเป็นไปได้อยาก และมีการพูดถึงเรื่องความยั่งยืน

 

ขณะที่เงินฝากอีกส่วนถูกกระจายไปที่ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ซึ่งเป็นธุรกิจที่เผชิญความท้าทายจากการแข่งขันและการดิสรัปชั่นในทุกรูปแบบ และเงินฝากส่วนสุดท้ายซึ่งมากสุด ถูกส่งไปยังประชาชน แต่มองว่าเป็นการเติบโตเพียงข้างเดียวหรือไม่ เพราะสินเชื่อที่ลงไปสู่ประชาชนอาจไม่สร้างความยั่งยืน


“การที่ธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนได้ คือปัญหาปลายเหตุ เพราะสิ่งสำคัญคือการทำอย่างไรให้สามารถชำระหนี้ได้ หรือ ทำอย่างไรให้หาเงินมาใช้หนี้ได้ ดังนั้นประเด็น ไม่ใช่เพราะ SME ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน แต่เพราะ SME ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งรายได้ เพราะถูกรายใหญ่เข้ามาแย่งตลาดแม้แต่การค้าออนไลน์ ดังนั้น ต้องทำให้รายใหญ่มาจับมือ SME ซึ่งแบงก์ต้องเข้าไปช่วย ร่วมทั้งการสร้างแพลตฟอร์ม เพื่อให้ SME เข้าถึงตลาดและแหล่งรายได้ ก็จะทำให้ไม่มีปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุน” นายปิติ กล่าว

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTB
ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTB

นอกจากนี้ แบงก์ต้องเข้าไปส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ช่วยแก้หนี้ สร้างวินัยการออมระยะยาว รวมทั้งการออกผลิตภัณฑ์คุ้มครองความเสี่ยงต่างๆ ที่จับต้องได้ โดยพัฒนาผ่านโมบายแบงก์กิ้ง เชื่อว่าเมื่อธนาคารพาณิชย์ ธปท. และ สมาคมธนาคารไทย ร่วมมือกันก็จะทำให้อุตสาหกรรมทางการเงินกลับมาเติบโตได้อย่างมั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแน่นอน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF