ผู้ว่า BOJ ชี้วิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์จีนไม่ส่งผลกระทบระดับโลก
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 17 พฤษภาคม 2024 เวลา 19:45:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: 1. อย่าเน้นข้อความด้วยอักษร หรือ เครื่องหมายพิเศษ เช่น +++, !!!,***, ((ขายด่วน)) ฯลฯ
2. อย่าเว้นวรรคตัวอักษรเพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่น ข า ย สิ น ค้า ด่ ว น แ ล้ ว วั น นี้ ฯลฯ
3. อย่าโฆษณา Website หรือมี url ที่หัวข้อโฆษณา และในรายละเอียดรวมทั้งลายเซ็น
(มิเช่นนั้นประกาศของท่านจะเข้าข่ายผิดกฏ และ อาจถูกลบโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า)
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ว่า BOJ ชี้วิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์จีนไม่ส่งผลกระทบระดับโลก  (อ่าน 63 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Joe524
Super Hero Member III
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12142


« เมื่อ: วันที่ 19 ธันวาคม 2021 เวลา 23:46:27 »


นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดการณ์ว่า วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะไม่ส่งผลกระทบในระดับโลก เนื่องจากจีนไม่ได้ก่อหนี้ในต่างประเทศมากนัก


ทั้งนี้ นายคุโรดะกล่าวต่อบรรดาผู้นำธุรกิจในเมืองนาโงยะ ทางภาคกลางของประเทศญี่ปุ่นในวันนี้ว่า "เราไม่คิดว่าวิกฤตการณ์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจหรือสถาบันการเงินของญี่ปุ่น นอกจากนี้ เรายังไม่เห็นความเสี่ยงสำคัญที่จะจุดชนวนภาวะตื่นตระหนกครั้งใหญ่ในระดับโลก"

นายคุโรดะได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มจะฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 พร้อมกับกล่าวว่า "แม้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นค่อนข้างช้ากว่าที่คาดการณ์เอาไว้ในเบื้องต้น แต่กลไกการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงสมบูรณ์"

นอกจากนี้ นายคุโรดะยังยอมรับว่าภาวะชะงักงันในห่วงโซ่อุปทาน อาทิ การขาดแคลนชิ้นส่วนและแรงงาน รวมไปถึงภาวะคอขวดในด้านการขนส่งนั้น ถือเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งฉุดรั้งการผลิตและการส่งออกของญี่ปุ่นอยู่แล้ว


"หากภาวะชะงักงันด้านอุปทานทั่วโลกยืดเยื้อยาวนานกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ก็จะเป็นปัจจัยถ่วงเศรษฐกิจในต่างประเทศ และผลักดันต้นทุนให้พุ่งสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อการส่งออกและการทำกำไรของผู้ประกอบการญี่ปุ่น

นายนายคุโรดะยังได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเงินเฟ้อญี่ปุ่น โดยระบุว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะปรับขึ้นสู่ระดับ 1% เนื่องจากอุปสงค์มีแนวโน้มแซงหน้าอุปทานในช่วงกลางปีหน้า เขายังระบุด้วยว่า BOJ จะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษต่อไปเนื่องจากไม่คิดว่าอัตราเงินเฟ้อจะบรรลุเป้าหมาย 2% และเสริมว่า BOJ "จะไม่ลังเลใจในการดำเนินมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติมหากจำเป็น" ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 ในญี่ปุ่น

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของ BOJ กล่าวในเดือนต.ค.ว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงปีงบประมาณ 2566 ซึ่งเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF