WHO แนะใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในผู้ป่วยโควิดกลุ่มเสี่ยงสูง เลี่ยงกลุ่มอายุน้อย
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 09 พฤษภาคม 2024 เวลา 18:25:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ต้องขออภัย!!! เนื่องจากตอนนี้เว็บไซต์กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา หากมีความผิดพลาดในเว็บประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และจะเป็นการขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง หากท่านนำความผิดพลาดนั้นมาแจ้งให้กับผู้ดูแลฯ แล้วทางเราจะรีบเข้าไปแก้ไขในความผิดพลาดนั้นๆให้เร็วที่สุด
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: WHO แนะใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในผู้ป่วยโควิดกลุ่มเสี่ยงสูง เลี่ยงกลุ่มอายุน้อย  (อ่าน 55 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Cindy700
Super Hero Member III
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13424


« เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2022 เวลา 17:14:48 »


WHO แนะใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในผู้ป่วยโควิดกลุ่มเสี่ยงสูง เลี่ยงกลุ่มอายุน้อย

คณะผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก (WHO) สนับสนุนให้ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ของบริษัทเมอร์ค แอนด์ โค สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความเสี่ยงสูงว่าจะมีอาการป่วยขั้นรุนแรง

คำแนะนำดังกล่าวมาจากข้อมูลชุดใหม่จากการทดลองทางคลินิกทั้ง 6 ครั้งซึ่งมีผู้ป่วย 4,796 รายเข้าร่วม โดย WHO Guideline Development Group (GDG) ซึ่งเป็นคณะผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำต่างๆ แก่ WHO นั้น ได้แนะนำการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์อย่างมีเงื่อนไขสำหรับผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เข่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ, ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน, ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

อย่างไรก็ดี GDG ไม่แนะนำให้ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่อายุยังน้อย และไม่แนะนำให้ใช้กับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่ต้องให้นมบุตร เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ ตามที่ปรากฏในผลการทดลองในสัตว์ ทั้งนี้ คำแนะนำของ GDG มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยได้เต็มที่ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเร็ว เช่นการระบาดของโควิด-19 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า WHO กำลังเตรียมออกคำแนะนำสำหรับยาแพ็กซ์โลวิดของบริษัทไฟเซอร์ด้วยเช่นกัน โดยยาชนิดนี้ของไฟเซอร์มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเจ็บป่วยขั้นรุนแรงจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงการเสียชีวิตอยู่ที่เกือบ 90% เมื่อเทียบกับยาโมลนูพิราเวียร์ซึ่งป้องกันได้ประมาณ 30% นับตั้งแต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอนุมัติให้ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์เมื่อเดือนธ.ค. ปีที่แล้ว ความต้องการยาโมลนูพิราเวียร์ในผู้ป่วยโควิด-19 กลับลดลงเนื่องจากประสิทธิภาพการป้องกันที่ต่ำเมื่อเทียบกับยาอื่น ทั้งยังพบปัญหาด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นในบางกลุ่ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF