'อนุสรณ์ ธรรมใจ' คาดเงินบาทปีนี้อ่อนค่าทะลุ 34.50 บาทต่อดอลลาร์ 
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 12 พฤษภาคม 2024 เวลา 09:39:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เตือนเพื่อนสมาชิก ระวัง นาย ธนันท์ วงค์วัฒนามงคล หลอกลวงสมาชิกที่ลงหาของในเวปโดยอ้างว่ามีสินค้าขายในราคาถูกและให้โอนเงินแต่ไม่ส่งสินค้าให้ โดยขณะนี้มีผู้ถูกหลอกหลายราย เบอร์โทรที่ใช้ 088-9526897 บัญชี ธ.ทหารไทย 2152261794/ ธ.กสิกรไทย 8530024230
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'อนุสรณ์ ธรรมใจ' คาดเงินบาทปีนี้อ่อนค่าทะลุ 34.50 บาทต่อดอลลาร์   (อ่าน 125 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Chanapot
Super Hero Member III
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11551


« เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2021 เวลา 07:23:50 »




รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยและอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวว่า ทิศทางค่าเงินบาทอาจอ่อนค่าทะลุระดับ 34.50 บาทต่อดอลลาร์ได้ในช่วงไตรมาสสี่ปีนี้ จากดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มอาจติดลบในปีนี้ โดยในไตรมาสแรกปี 2564 ดุลบัญชีเงินสะพัดขาดดุลแล้ว 2.6 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าในไตรมาสสองและสามจะยังคงขาดดุลต่อเนื่อง ดุลการค้าเกินดุลลดลง คาดว่าปีนี้ดุลบัญชีเงินทุนมีเงินไหลออกสุทธิไม่ต่ำกว่า 3-4 พันล้านดอลลาร์ โดยมีทั้งการไหลออกของเงินลงทุนโดยตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน ปีที่แล้วเงินทุนไหลออกสุทธิประมาณ 3.59 พันล้านดอลลาร์ อัตราการค้าปรับตัวลดลงเป็นผลมาจากราคานำเข้าสินค้าเพิ่มสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออก

ทางด้านเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ทั้งตัวเลขการเพิ่มขึ้นของการจ้างงาน ตัวเลขตำแหน่งงานเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นถึง 943,000 ตำแหน่ง อัตราการว่างงานลดลงต่อเนื่อง การกระเตื้องขึ้นของดัชนีภาคการผลิตและการบริการ ดัชนีค้าปลีกและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐอาจทยอยลดวงเงินในการทำ QE ลงในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า           

แม้นการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นภาพสะท้อนของภาวะเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแอลงอย่างมาก แต่ผลของการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นผลบวกต่อเศรษฐกิจโดยรวม จะช่วยกระตุ้นภาคส่งออก การจ้างงานและรายได้จากการท่องเที่ยวหากสามารถเปิดประเทศได้ ผลกระทบในทางลบที่มีต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจและแรงกดดันเงินเฟ้อจะไม่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่จำนวนมาก และอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยรวมยังต่ำอยู่เฉลี่ยอยู่ที่ 66-67% ไม่ว่าพิจารณาปัจจัยทางด้านอุปสงค์หรืออุปทานไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นมาก

ขณะที่การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในสหรัฐ ยุโรป หรือญี่ปุ่น จะทำให้ธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้จะใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำพิเศษไปอีกอย่างน้อยหนึ่งถึงสองปี ความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การเร่งตัวของเงินเฟ้อและเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงินบรรเทาลง อัตราดอกเบี้ยจะต่ำไปอีกนาน จึงขอให้ “คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน” ของธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอย่างจริงจังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เหลือ 0% หรืออย่างน้อยต้องลดลงให้เหลือ 0.10% ในการประชุมครั้งต่อไปเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจที่จะทรุดตัวลงในปลายไตรมาสสามต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2565 หากตัดสินใจช้าจะไม่สามารถประคับประคองเศรษฐกิจได้ทันการณ์ และดูเหมือนว่าประเทศคงจำเป็นต้องมีการล็อกดาวน์อยู่เป็นระยะๆ และคาดว่ามาตรการคลังมีข้อจำกัดจากเพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่น่าจะทะลุเพดาน 60% อย่างแน่นอน

ส่วนการปรับลดความคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อสถาบันการเงิน ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.นี้นั้นจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงินมีเสถียรภาพและมีความมั่นคงมากขึ้น รวมทั้งลดภาระต่อเงินสาธารณะในกรณีเกิดปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินขึ้นในอนาคตหรือธนาคารถูกเพิกถอนใบอนุญาต อัตราขยายตัวของการฝากเงินของประชาชนและกิจการต่างๆ ก็ปรับตัวลงอย่างมากในช่วงวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโควิด-19 คนฝากเงินในระบบสถาบันการเงินที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาทในแต่ละธนาคารมีอยู่ประมาณ 2% ของทั้งระบบ 97-98% ของผู้ฝากเงินมีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเงินฝาก e-money มากขึ้นตามลำดับ จึงควรขยายวงเงินฝากให้ครอบคลุมเงินฝาก e-money และควรขยายวงเงินคุ้มครองเงินฝากจาก 1 ล้านเป็น 2-3 ล้านบาทเมื่อบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองวงเงิน 1 ล้านไปเป็นระยะ 1-2 ปีแล้ว เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางการเงินอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม


นอกจากนี้ เขา มองว่า การขยายเวลาและขยายพื้นที่ล็อกดาวน์ไม่ได้ผลในการลดการติดเชื้อ และจำนวนผู้เสียชีวิตมากนัก ควรเปลี่ยนวิธีการให้ดำเนินชีวิตได้ตามปรกติมากที่สุดและเดินหน้าเปิดประเทศหลังจากระบบสาธารณสุขสามารถรองรับผู้ป่วยหนักได้เต็มที่แล้ว จุดประสงค์ของการล็อกดาวน์ คือ ป้องกันไม่ให้ระบบสาธารณสุขล่มสลาย ไม่ให้จำนวนผู้ป่วยล้นเกินไป เพราะล็อกดาวน์ไม่ได้ทำให้โรคหายไป เราจะต้องอยู่กับโควิด-19 ไปอีกนาน ฉะนั้นเราต้องมีวิธีการจัดการใหม่ คือ อยู่กับมันเหมือนเราอยู่กับโรคไข้หวัดใหญ่ หรือ โรคเอดส์ โดยเน้นให้ทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรฐานสาธารณสุขเคร่งครัด ฉีดวัคซีนในอัตราเร่งเดือนละ 10 ล้านโดสเป็นอย่างต่ำ หรือ วันละสามแสนสามหมื่นสี่พันโดสเป็นอย่างน้อย เป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ 50 ล้านคน (70% ของประชากร) ได้ฉีดเข็มแรกภายในเดือนตุลาคมก็จะบรรลุผลและเดินหน้าเปิดประเทศได้ รวมทั้งต้องเน้นฉีดกลุ่มคนทำงานที่ต้องสัมผัสกับผู้คนมากๆ ก่อนเพื่อลดการแพร่ระบาด เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ตำรวจ รปภ กลุ่มวินมอเตอร์ไซด์ กลุ่มคนขับรถเมล์ คนขับแท็กซี่ พนักงานบริการต่างๆ เป็นต้น การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันมีต้นทุนที่ถูกกว่าการปล่อยให้คนติดเชื้อแล้วค่อยรักษามาก หากปล่อยให้คนติดเชื้อและอยู่ในระหว่างการรักษาเกิน 400,000 คนในแต่ละช่วงเวลา ต้นทุนทางเศรษฐกิจจะสูงมากและอัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มเฉลี่ยเกิน 200 คนต่อวันได้

การควบคุมการระบาดในระยะนี้ต้องเน้นไปที่มิติความสัมพันธ์ของคนมากกว่าคุมพื้นที่ เช่น คนงานติดเชื้อที่โรงงาน ไม่ใช่เน้นไปคุมพื้นที่โดยรอบโรงงานหรือปิดโรงงาน ต้องเอา “คนติดเชื้อ” ออกมา แล้วให้โรงงานเปิดการทำงานได้ตามปรกติ แล้วเน้นไปควบคุมว่าคนงานติดเชื้อนั้นไปมีปฏิสัมพันธ์กับใครบ้างมากกว่า การดำเนินการแบบนี้จึงไม่ทำให้เศรษฐกิจเสียหายไปมากกว่านี้ สิงคโปร์ ไต้หวัน ก็ทำแบบนี้ นอกจากนี้ยังต้องจัดสรรงบประมาณให้ระบบสาธารณสุขมีความเพียงพอต่อการรองรับผู้ป่วยหนัก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF