สอบถามผู้รู้ เรื่องสายนำสัญญาณ ว่าใช้สาย 75 โอห์ม ในการทำสายอากาศได้หรือป่าวครับ
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 04 พฤษภาคม 2024 เวลา 05:03:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: 1. อย่าเน้นข้อความด้วยอักษร หรือ เครื่องหมายพิเศษ เช่น +++, !!!,***, ((ขายด่วน)) ฯลฯ
2. อย่าเว้นวรรคตัวอักษรเพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่น ข า ย สิ น ค้า ด่ ว น แ ล้ ว วั น นี้ ฯลฯ
3. อย่าโฆษณา Website หรือมี url ที่หัวข้อโฆษณา และในรายละเอียดรวมทั้งลายเซ็น
(มิเช่นนั้นประกาศของท่านจะเข้าข่ายผิดกฏ และ อาจถูกลบโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า)
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามผู้รู้ เรื่องสายนำสัญญาณ ว่าใช้สาย 75 โอห์ม ในการทำสายอากาศได้หรือป่าวครับ  (อ่าน 9105 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
HS4YIJ
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14



Facebook อีเมล์
« เมื่อ: วันที่ 07 ตุลาคม 2013 เวลา 21:18:52 »


รบกวนด้วยครับ
บันทึกการเข้า

นายคมสันต์ ผาตินันท์
199 หมู่ 3 ถนนพังโคน-วาริชภูมิ ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 47160
082-4828481
Life_myway@hotmail.com
golf6557
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 154



อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 15 ตุลาคม 2013 เวลา 13:22:09 »

เอามาฝากครับ ลองดู ครับได้มาจาก บทความของ HS1XFR ครับ
สายนำสัญญาณ ตอนที่ 1
เพื่อนๆที่อยู่ต่างจังหวัด อาจจะหาซื้อสายนำสัญญาณแบบ 50 โอห์มได้ยาก แต่มีความจำเป็นต้องใช้สายนำสัญญาณที่มีค่าอิมพีแดนซ์ 50 โอห์ม หรือในยามคับขัน หรือแม้แต่วันอาทิตย์ที่ร้านปิด แต่เรามีสายนำสัญญาณแบบ 75 โอห์ม เยอะมาก ขายเกลื่อนกลาดทั่วบ้านทั่วเมือง เราจะแก้ปัญหาอย่างางไรดี วันนี้เรามีเทคนิคดีๆมาแนะนำครับ

เทคนิคแรก
ถ้าเราต้องการใช้งานสายนำสัญญาณเพียงช่วงสั้นๆ เช่น เป็นสายต่อระหว่างเครื่องรับส่ง กับ เครื่องมือวัดประจำสถานี หรือเป็นสายนำสัญญาณช่วงสั้นๆจากเครื่องรับส่งไปเชื่อมต่อกับสายนำสัญญาณขนาดใหญ่เพื่อต่อกับสายอากาศภายนอก เราสามารถนำสายนำสัญญาณที่ไม่ใช่ 50 โอห์ม มาปรับใช้ได้ โดยตัดให้มีความยาวทางไฟฟ้าเท่ากับ 1/2 ความยาวคลื่นของความถี่ที่เราต้องการใช้งาน เรามาลองดูวิธีการคำนวนง่ายๆตามนี้ครับ
ยกตัวอย่าง
เราต้องการใช้สายนำสัญญาณที่ไม่ใช่ 50 โอห์มในระบบของเรา ใช้งานที่ความถี่ 144.5MHz จะต้องตัดสายนำสัญญาณความยาวเท่าใด
ตัวแปรแรก ที่เราจำเป็นต้องรู้คือ ค่าตัวคูณความเร็วของสายนำสัญญาณ หรือค่า Velocity Factor ที่คุ้นหูเรานั่นเอง
ตัวแปรที่สอง ก็คือความถี่ที่เราต้องการใช้งาน หน่วยเป็น MHz
วิธีคำนวนก็ไม่ยากครับ หาค่าความยาวคลื่นโดยการแทนค่าในสูตรคำนวน V = F * λ
V = ความเร็วคลื่นในสูญญากาศ ให้ใช้ค่า 300
F = ความถี่ที่ใช้งาน หน่วยเป็น MHz
λ = ความยาวคลื่น หน่วยเป็นเมตร
300 = 145.5 * λ
300/145.5 = λ
λ = 2.06
นำเอาค่า λ ที่ได้ไปคูณค่าความเร็วของสายนำ
สัญญาณ (Velocity Factor) สมมุติว่าเป็นสายนำสัญญาณ PE ทั่วไป
ความยาวคลื่นในสายนำสัญญาณ = 2.06 * 0.66
ความยาวคลื่นในสายนำสัญญาณ = 1.36 เมตร
หากเราต้องการความยาวทางไฟฟ้าของสายนำสัญญาณเท่ากับ ครึ่งความยาวคลื่น (Half wave) ก็นำมาหารด้วยสอง ก็จะได้เท่ากับ 0.68 เมตรครับ
เราก็ตัดสายนำสัญญาณให้มีความยาว 0.68 เมตร ไปใช้กับความถี่ที่ต้องการได้เลยครับ
หากเราต้องการใช้สายนำสัญญาณที่มีความยาวมากกว่า ครึ่งความยาวคลื่น ก็สามารถใช้ความยาวที่เป็นจำนวนเท่าของความยาวคลื่นได้ แต่จะมีความสูญเสียเกิดขึ้นภายในสายมากกว่าการใช้สายนำสัญญาณปกติ
เราสามารถตรวจสอบได้จากรหัสของสายนำสัญญาณ เอาไปเสริชหาในอินเตอร์เน็ต ก็จะได้ข้อมูลทางเทคนิคออกมา หรือถ้าเราไม่ทราบจริงๆ ให้เราดูที่ไส้ของสายนำสัญญาณ หากเป็นฉนวนพลาสติกใส หรือที่เรียกว่า PE จะมีค่า ตัวคุณความเร็วเท่ากับ 0.66 แต่ถ้าเป็นโฟมขาวๆ ก็อนุโลมให้ใช้ค่าตัวคุณความเร็ว ระหว่าง 0.79 - 0.88 หรือจะใช้ค่ากลางๆที่ 0.84 ก็ได้ครับ แต่ถ้าหากเป็น PTFE หรือเทฟลอน ก็ให้ใช้ที่ 0.7 ครับ
วิธีนี้ใช้ได้ในกรณีที่เพื่อนๆใช้ความถี่ไม่กว้างมากครับ เช่นนักวิทยุสมัครเล่น ใช้ความถี่ 144-146MHz หรือย่านราชการที่มีช่องความถี่ไม่ห่างกันมาก (สามารถเปลี่ยนความถี่ได้ประมาณ 10% ของความถี่กลาง
บันทึกการเข้า

E21-GJB 144.700 ชมรมวิทยุสมัครเล่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
จ.นนทบุรี
กฟผ.ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย
hs4qnn
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 73


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 15 ตุลาคม 2013 เวลา 15:37:51 »

ตามนั้นครับ ใช้ได้ครับ แค่ตัดให้ลงแลมด้า และอย่าใช้ยาวจนเกินไป

เขาไม่ได้ออกแบบมาให้สาย 75 โอห์มเป็นสายส่ง เนื่องจากลวดตัวนำมีขนาดเล็กกว่า

ฉะนั้น จึงเกิดความร้อนง่ายกว่าเมื่อใช้กำลังสูงขึ้น และอัตราสูญเสียก็จะเพิ่มขึ้นด้วยครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF