อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทปิดตลาด “อ่อนค่า”ที่ระดับ 33.36บาท/ดอลลาร์
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 12 พฤษภาคม 2024 เวลา 08:46:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: หากสมาชิกท่านใดเข้ามาป่วนเว็บ หรือ ก่อกวนกระทู้บุคคลอื่น หรือ โพสข้อมูล รูปภาพ ที่ผิดต่อกฏกติกา มารยาทอันดีงามของสังคมของเรา
ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองแบบเลือกสีเลือกฝ่าย ผู้ดูแลจะพิจารณาลบข้อมูล และลบ User ท่านออกโดยขออนุญาตไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทปิดตลาด “อ่อนค่า”ที่ระดับ 33.36บาท/ดอลลาร์  (อ่าน 163 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Naprapats
Super Hero Member III
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11310


« เมื่อ: วันที่ 02 พฤศจิกายน 2021 เวลา 14:35:15 »


อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท “อ่อนค่า”สอดคล้องกับสถานะฟันด์โฟลว์ในตลาดการเงินไทย ทิศทางของเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอ่อนค่ามาปิดตลาดในประเทศที่ระดับ 33.36 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ที่ 33.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า เงินบาทที่อ่อนค่าสอดคล้องกับสถานะฟันด์โฟลว์ในตลาดการเงินไทย ทิศทางของเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ยังคงมีแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่า เฟดจะประกาศลดวงเงิน QE ในการประชุมสัปดาห์นี้


สำหรับทิศทางฟันด์โฟลว์วันนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทย 3,586.47 ล้านบาท  และ  558  ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่มีตราสารหนี้ที่หมดอายุ 40 ล้านบาท

 

ส่วนค่าเฉลี่ย Indicative forward points ของธุรกรรมระยะ 3 เดือนสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ 50-200 ล้านบาทต่อปี รายงานข้อมูล ณ 10.00 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 โดยธปท. อยู่ที่ 0.42 สำหรับผู้ส่งออก (ขายเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) และที่ 3.25 สำหรับผู้นำเข้า (ซื้อเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า)

 

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ คาดไว้ที่  33.20-33.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ สถานการณ์โควิด-19 ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ผลการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย  บันทึกการประชุม BOJ ข้อมูล PMI ภาคการผลิตของยูโรโซน และอังกฤษ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF