ThaiBMA เชื่อหุ้นกู้เอกชนปีนี้ยังคึกคักทะลุ 1 ล้านลบ.หวังตรึงดอกเบี้ยต่ำแม้ต้นทุนการออกสูงขึ้
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 18 พฤษภาคม 2024 เวลา 07:53:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: 1. อย่าเน้นข้อความด้วยอักษร หรือ เครื่องหมายพิเศษ เช่น +++, !!!,***, ((ขายด่วน)) ฯลฯ
2. อย่าเว้นวรรคตัวอักษรเพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่น ข า ย สิ น ค้า ด่ ว น แ ล้ ว วั น นี้ ฯลฯ
3. อย่าโฆษณา Website หรือมี url ที่หัวข้อโฆษณา และในรายละเอียดรวมทั้งลายเซ็น
(มิเช่นนั้นประกาศของท่านจะเข้าข่ายผิดกฏ และ อาจถูกลบโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า)
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ThaiBMA เชื่อหุ้นกู้เอกชนปีนี้ยังคึกคักทะลุ 1 ล้านลบ.หวังตรึงดอกเบี้ยต่ำแม้ต้นทุนการออกสูงขึ้  (อ่าน 56 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
hs8jai
Super Hero Member III
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12536


« เมื่อ: วันที่ 08 เมษายน 2022 เวลา 01:41:54 »


ThaiBMA เชื่อหุ้นกู้เอกชนปีนี้ยังคึกคักทะลุ 1 ล้านลบ.หวังตรึงดอกเบี้ยต่ำแม้ต้นทุนการออกสูงขึ้น

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ทิศทางตลาดตราสารหนี้ไทยในปี 65 คาดว่าจะมียอดการออกและเสนอขายหุ้นกู้เอกชนทะลุ 1 ล้านล้านบาทเช่นเดียวกับปี 64 ที่มียอด 1.3 ล้านล้านบาท โดยการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนในช่วงไตรมาส 2/65 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสแรก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการออกเพื่อคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำไว้ เนื่องจากมองว่ามีโอกาสที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
โดยในช่วงไตรมาส 1/65 ที่ผ่านมามียอดการออกหุ้นกู้ของภาคเอกชน 268,746 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกว่า 90% เป็นหุ้นกู้ในกลุ่ม Investment grade (ตั้งแต่ BBB- ขึ้นไป) ในขณะที่หุ้นกู้กลุ่ม High yield ถึง 83% เป็นหุ้นกู้แบบมีประกัน โดยจัดให้มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักประกัน หรือเป็นการค้ำประกันโดยนิติบุคคลอื่น ซึ่งการออกหุ้นกู้มีทั้งระดมทุนเพื่อนำไปลงทุนในโครงการต่างๆ ชำระหนี้เงินกู้ และการต่ออายุหุ้นกู้ที่ครบกำหนด (rollover) โดยในช่วงที่เหลือของปี 65 นี้จะมีหุ้นกู้ที่ครบกำหนดอีก 566,571 ล้านบาท

ด้านกระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Fund flow) ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 65 มีการซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยอย่างต่อเนื่องโดยมียอดซื้อสุทธิสะสมจนถึงวันที่ 23 ก.พ.65 สูงกว่า 1.45 แสนล้านบาท ก่อนที่จะพลิกกลับมาเป็นการขายออกตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ. และตลอดเดือน มี.ค. หลังเกิดความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน แต่อย่างไรก็ตามกระแสการลงทุนสะสมสุทธิของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นไตรมาส 1 ยังคงเป็นบวก มียอดการซื้อสะสมสุทธิที่ 23,751 ล้านบาท ทำให้ต่างชาติมียอดการถือครองตราสารหนี้ไทย ณ สิ้นไตรมาส 1/65 ที่ 1.03 ล้านล้านบาท คิดเป็น 6.9% ของมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ไทย โดยกว่า 90% เป็นการถือครองตราสารหนี้ระยะยาวที่มีอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย (Bond yield) ตั้งแต่ต้นปีมีการปรับตัวในทิศทางขาขึ้น โดยเฉพาะภายหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศยืนยันการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มีผลให้ Bond yield ไทยขยับขึ้นตาม Bond yield สหรัฐฯ โดย ณ สิ้นไตรมาส 1/65 Bond yield ไทยรุ่นอายุ 2 ปี อยู่ที่ 0.92% และ รุ่นอายุ 10 ปี ที่ 2.35% เป็นการปรับตัวสูงขึ้น 26 bps. และ 45 bps. ตามลำดับจากสิ้นปีที่แล้ว ส่วนชดเชยความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit spread) ของหุ้นกู้อายุ 5 ปี ปรับตัวลดลงในไตรมาส 1 ทุกอันดับเครดิต แต่จากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ส่งผลให้ผู้ออกมีต้นทุนการออกหุ้นกู้ (Corporate bond yield) สูงขึ้นจากสิ้นปีที่ผ่านมา และเริ่มมีต้นทุนการกู้ยืมที่สูงกว่าก่อนโควิดเล็กน้อย โดยหุ้นกู้อายุ 5 ปี เรทติ้งกลุ่ม AAA, AA, A, BBB มีต้นทุนดอกเบี้ยโดยเฉลี่ย 2.13%, 2.48%, 2.78% และ 4.57% ตามลำดับ นางสาวอริยา กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ที่ผ่านมามีผลกระทบโดยตรงต่อตลาดตราสารหนี้ไทยค่อนข้างจำกัด แต่มีผลกระทบทางอ้อมส่งผ่านไปทางอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น จนอาจกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในอนาคต และทำให้ธนาคารกลางต่างๆ ต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จนมีผลให้ Bond yield มีแนวโน้มขยับขึ้นสูงและเร็วกว่าที่คาด สำหรับทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย คาดว่าจะมีความผันผวนสูงโดย Bond yield ระยะกลางถึงยาวมีทิศทางเพิ่มขึ้นตาม Bond yield สหรัฐฯ ในขณะที่ Bond yield ระยะสั้นจะยังทรงตัวในระดับต่ำจนกว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งคาดว่าอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายปี ทั้งนี้ Bond yield 10 ปี ที่อ้างอิงจากแบบจำลอง Machine learning คาดว่ามีโอกาสปรับตัวขึ้นไปสู่ระดับ 2.5 ? 2.7% ณ สิ้นไตรมาส 2 โดยมีสมมติฐานว่าความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนมีความคลี่คลายลงและไม่ลุกลามจนกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF