ธปท.ออกมาตรการรวมหนี้รวมหลักประกัน คิดดอกเบี้ยบ้านบวก2 %
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 09 พฤษภาคม 2024 เวลา 05:09:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ต้องขออภัย!!! เนื่องจากตอนนี้เว็บไซต์กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา หากมีความผิดพลาดในเว็บประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และจะเป็นการขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง หากท่านนำความผิดพลาดนั้นมาแจ้งให้กับผู้ดูแลฯ แล้วทางเราจะรีบเข้าไปแก้ไขในความผิดพลาดนั้นๆให้เร็วที่สุด
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธปท.ออกมาตรการรวมหนี้รวมหลักประกัน คิดดอกเบี้ยบ้านบวก2 %  (อ่าน 82 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
kaidee20
Super Hero Member III
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12137


« เมื่อ: วันที่ 24 พฤศจิกายน 2021 เวลา 15:20:08 »


ธปท.ออกมาตรการรวมหนี้รวมหลักประกัน จับสินเชื่อบ้านบวกสินเชื่อรายย่อย ช่วยลูกหนี้ลดดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยลง เท่ากับดอกเบี้ยบ้าน+2% รวมทั้งออกประกาศห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee) ไปจนถึงสิ้นปี 66 ระบุหากขอรีไฟแนนซ์แล้วสถาบันการเงินไม่ยอมให้ทำ ให้แจ้งธปท.ที่ โทร 1213 ได้ทันที

น.ส.อรมนต์ จันทพันธ์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ได้ปรับปรุงมาตรการการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (debt consolidation) เพื่อช่วยให้ลูกหนี้ได้รับดอกเบี้ยที่ลดลงจากเดิม สามารผ่อนชำระได้ดีขึ้นในระหว่างการฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงโควิด-19 โดยขยายขอบเขตให้สามารถรวมหนี้ข้ามสถาบันการเงิน ข้ามไปยังผู้ประกอบธุรกิจให้สินเช่ื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงินได้ (นอนแบงก์) และธนาคารรัฐได้ จากเดิมที่รวมหนี้ได้เฉพาะหนี้ในสถาบันการเงินเดียวกัน



นอกจากนั้น ยังได้ปรับปนุงวิธีการรวมหนี้ตามแนวทางใหม่นี้ โดยจะทำได้ 3 แนวทางคือ 1.กรณีนำหนี้รายย่อยจากสถาบันการเงิน หรือนอนแบงก์อื่น มารวมกับหนี้ของสถาบันการเงินที่เรามีสินเชื่อบ้านอยู่ โดยทำการรีไฟแนนซ์สินเชื่อรายย่อยปิดยอดจากที่เดิมแล้วมารวมกับสินเชื่อบ้านที่มีอยู่ 2.กรณีนำหนี้้บ้านจากสถาบันการเงิน หรือนอนแบงก์อื่นมารวมกับสินเชื่อรายย่อยอยู่ ให้ทำการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้าน ปิดยอดจากที่เดิมมารวมได้เช่นกัน และ 3. รีไฟแนนซ์ทั้งสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรายย่อย จากสถาบันการเงินเดิมมารวมกันในสถาบันการเงินแห่งใหม่ โดยหลักการของการวมหนี้นั้นวงเงินสินเชื่อใหม่ที่รวมกันแล้วจะต้องต่ำกว่าราคาบ้านที่ใช้เป็นหลักประกัน

ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ได้รับดอกเบี้ยที่ลดลง ธปท.ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยหลังจากรวมหนี้ไว้ด้วย โดยดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยจะต้องลดลงจากเดิม เพราะถือว่ามีหลักประกันเป็นบ้านแล้ว โดยในส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้คิดดอกเบี้ยไม่เกินดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม ขณะที่สินเชื่อรายย่อยที่นำมารวมหนี้นั้น ไม่่ว่าจะเคยคิดดอกเบี้ย 16-28% ตามสินเชื่อเดิม ให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ไม่เกินอัตรา ดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (อัตราที่ใช้หลังการส่งเสริมการขาย teaser rate) บวก 2% ต่อปี เช่น หากดอกเบี้ยบ้านอยู่ที่ 6% ะคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 8% เป็นต้น ส่วนกรณีที่รับ โอนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมาจากสถาบันการเงินอื่น ให้คิดดอกเบี้ยบ้านตามความเสี่ยงของลูกหนี้ และบวกเพิ่มไม่เกิน 2% สำหรับสินเชื่อรายย่อย โดยมาตรการดังกล่าวนี้คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในสิ้นเดือน ธ.ค.2564 ไปจนถึง วันที่ 31 ธ.ค.2566





ด้านน.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ เพื่อจูงใจให้สถาบันการเงินดำเนินการรวมหนี้ให้กับลูกหนี้ ธปท.ได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์ การกำกับดูแลการจัดชั้นหนี้ การกันเงินสำรอง และการดำรงเงินกองทุน เพื่อลดต้นทุนให้กับสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือลูกหนี้ นอกจากนั้น เพื่อให้การรีไฟแนนซ์ของลูกหนี้มีต้นทุนไม่สูงเกินไป ธปท.ได้ออกประกาศห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกาหนด (prepayment fee) สาหรับสินชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับเป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย.2564 ถึง วันที่ 31 ธ.ค.2566 โดยห้ามเรียกเก็บนี้ ทั้งกรณีการรีไฟแนนซ์เพื่อรวมหนี้ และการรีไฟแนนซ์เพื่อปรับโครงสร้างหนี้อื่นๆ ด้วย

ธปท.เชื่อว่าการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมของธปท.ครั้งนี้ จะช่วยให้จูงใจให้สถาบันการเงินยอมให้ลูกหนี้รวมหนี้ได้มากขึ้น เพราะแม้ว่าจะได้ดอกเบี้ยลดลง แต่มีความมั่นคงในการชำระคืนมากขึ้น ขณะเดียวกัน หากเกิดกรณีลูกหนี้ดำเนินการของรีไฟแนนซ์สินเชื่อกับสถาบันการเงินแห่งใด แล้วสถาบันการเงินไม่ยอมรับชำระหนี้ ถือเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ สามารถที่จะร้องเรียนมาที่ ธปท.ที่โทร 1213 ได้ทันที เพราะตามกฎหมายหากลูกหนี้นำเงินมาชำระหนี้สถาบันการเงินไม่มีสิทธิปฏิเสธการชำระหนี้ ขณะเดียวกันในส่วนของลูกหนี้ที่มีความกังวลว่า หากรวมหนี้แล้วส่งไม่ได้จะทำให้เสียบ้านไปนั้น กรณีดังกล่าวอาจจะไม่ต้องกังวลมาก เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงทำให้อัตราการผ่อนชำระลดลง และนอกมีปัญหาก็สามารถที่จะเข้าโครงการแก้หนี้ระยะยาวกับธปท.ได้”
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF