สรุป 2 มาตรการแก้หนี้ระยะยาว รีไฟแนนซ์ VS รวมหนี้
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 18 พฤษภาคม 2024 เวลา 07:32:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: หากสมาชิกท่านใดเข้ามาป่วนเว็บ หรือ ก่อกวนกระทู้บุคคลอื่น หรือ โพสข้อมูล รูปภาพ ที่ผิดต่อกฏกติกา มารยาทอันดีงามของสังคมของเรา
ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองแบบเลือกสีเลือกฝ่าย ผู้ดูแลจะพิจารณาลบข้อมูล และลบ User ท่านออกโดยขออนุญาตไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุป 2 มาตรการแก้หนี้ระยะยาว รีไฟแนนซ์ VS รวมหนี้  (อ่าน 152 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Thetaiso
Super Hero Member III
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9999


« เมื่อ: วันที่ 26 พฤศจิกายน 2021 เวลา 19:54:17 »



สรุป ธปท. เพิ่ม 2 มาตรการ แก้หนี้ระยะยาว ด้วยการ รีไฟแนนซ์ และ รวมหนี้ ข้ามธนาคาร เปิดสาระสำคัญ แนวทางแก้ไขหนี้บ้าน - หนี้รถ ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต ก่อนเปิดให้สมัครเข้าร่วมมาตรการแก้หนี้เดือน ธ.ค.นี้

23 พ.ย.2564 - จากกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการ แก้หนี้ระยะยาวเพิ่มเติม ด้วย การรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้ เพื่อให้ความช่วยความเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 

 

ผ่านการสนับสนุนให้สถาบันการเงิน ทำการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (debt consolidation) เข้าด้วยกัน  ด้วยการ นำหลักประกันของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ มาใช้ประโยชน์ในการช่วยลดภาระดอกเบี้ยและค่างวดในระยะยาว อีกทั้ง ธปท. ยังได้ดำเนินการลดข้อจำกัดการทำรีไฟแนนซ์ (refinance) หนี้อีกด้วยนั้น 



"ฐานเศรษฐกิจ" ได้สรุปรายละเอียดของมาตรการแก้หนี้ระยะยาวของธปท. เพื่อให้ประชาชนเข้าใจอย่างง่าย ดังนี้  

 

ห้ามสถาบันการเงินเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee) สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ เป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
ปรับปรุงแนวทางการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (debt consolidation) โดยขยายขอบเขตให้สามารถรวมหนี้ข้ามสถาบันการเงินและ/หรือผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้ จากเดิมที่สามารถรวมหนี้ได้เฉพาะหนี้ในสถาบันการเงินเดียวกัน 

ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินมีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้นได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม ส่วนในกรณีที่รับโอนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (refinance) มาจากสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ได้ 

 

สำหรับสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ด้วย ให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นอัตราที่ใช้หลังการส่งเสริมการขาย (teaser rate) บวกร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อรายย่อยโดยทั่วไปอย่างมีนัย 

 

การปรับโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการรวมหนี้ 

สรุป 2 มาตรการแก้หนี้ระยะยาว  รีไฟแนนซ์ VS รวมหนี้
สรุป 2 มาตรการแก้หนี้ระยะยาว รีไฟแนนซ์ VS รวมหนี้

 

มาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ 

สรุป 2 มาตรการแก้หนี้ระยะยาว  รีไฟแนนซ์ VS รวมหนี้
สรุป 2 มาตรการแก้หนี้ระยะยาว รีไฟแนนซ์ VS รวมหนี้

โดยแบงก์ชาติได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแล ทั้งการจัดชั้นหนี้ การกันเงินสำรอง และการดำรงเงินกองทุน เพื่อลดต้นทุนให้กับสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือลูกหนี้ สำหรับการรวมหนี้ที่ดำเนินการภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการดังกล่าว 

 

ทั้งนี้ คาดว่าสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะทยอยเสนอผลิตภัณฑ์การรวมหนี้ได้ภายในสิ้นเดือน ธ.ค. 2564 โดยลูกหนี้สามารถติดต่อสถาบันการเงินโดยตรงเพื่อสมัครเข้าร่วมมาตรการ 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF