นักลงทุนคาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย 5 ครั้งปีนี้สกัดเงินเฟ้อ
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 22 พฤษภาคม 2024 เวลา 01:06:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: หากสมาชิกท่านใดเข้ามาป่วนเว็บ หรือ ก่อกวนกระทู้บุคคลอื่น หรือ โพสข้อมูล รูปภาพ ที่ผิดต่อกฏกติกา มารยาทอันดีงามของสังคมของเรา
ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองแบบเลือกสีเลือกฝ่าย ผู้ดูแลจะพิจารณาลบข้อมูล และลบ User ท่านออกโดยขออนุญาตไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นักลงทุนคาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย 5 ครั้งปีนี้สกัดเงินเฟ้อ  (อ่าน 52 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Cindy700
Super Hero Member III
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13424


« เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2022 เวลา 16:26:39 »




FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 33% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% จำนวน 5 ครั้งในปี 2565 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ให้น้ำหนักเพียง 22%

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้ จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นแตะระดับ 1.50% ในเดือนธ.ค. จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 0.00-0.25%

นอกจากนี้ นักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 100% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นเดือนที่เฟดยุติโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

นักลงทุนเพิ่มคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว หลังจากที่เฟดส่งสัญญาณเร่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด กล่าวว่า เฟดยังคงสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกมาก โดยไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงาน

นักวิเคราะห์คาดสหรัฐเผยตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งสูงสุดเกือบ 40 ปี
 
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันนี้

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ พุ่งขึ้น 4.8% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2526

ทั้งนี้ ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จากกระทรวงแรงงานสหรัฐ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF