รู้จักค่าวัดความดันกับเครื่องวัดความดัน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 28 เมษายน 2024 เวลา 23:05:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ต้องขออภัย!!! เนื่องจากตอนนี้เว็บไซต์กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา หากมีความผิดพลาดในเว็บประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และจะเป็นการขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง หากท่านนำความผิดพลาดนั้นมาแจ้งให้กับผู้ดูแลฯ แล้วทางเราจะรีบเข้าไปแก้ไขในความผิดพลาดนั้นๆให้เร็วที่สุด
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จักค่าวัดความดันกับเครื่องวัดความดัน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง  (อ่าน 34 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
damonshoppu
Sr. Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 480


อีเมล์
« เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2024 เวลา 16:57:04 »


ปัจจุบันเครื่องวัดความดันเป็นอีกไอเทมที่มีติดบ้านเพื่อให้ตั้งรับกับสภาวะภายในร่างกายได้ดีมากขึ้น ทั้งนี้ หากสังเกตที่หน้าจอก็จะพบกับค่าวัดความดันและอื่น ๆ ซึ่งเรื่องนี้บางคนอาจจะไม่ค่อยรู้ และเพื่อให้คุณสามารถอ่านค่าได้เองอย่างมั่นใจ วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับค่าวัดความดันมาแนะนำ สร้างความเข้าใจถูกต้อง ใช้งานตอบโจทย์



รู้จักค่าวัดความดันจากเครื่องวัดความดัน สร้างความเข้าใจ

การวัดความดันเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนไม่ควรมองข้าม ซึ่งหน้าจอของเครื่องวัดความดันโลหิตจะมีค่าต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป ให้ค่าความหมายที่ไม่เหมือนกัน โดยแบ่งออกเป็น

- ชีพจร คืออัตราการเต้นของหัวใจที่ได้รับการเคลื่อนไหวของหลอดเลือด ขณะที่หัวใจบีบตัวส่งเลือด โดยที่จะมีชีพจรที่
- ค่าวัดความดันตัวบน หรือค่า SYS ที่จะเกิดขึ้นขณะที่หัวใจกำลังบีบตัว ปกติแล้วจะเป็นค่าแรกที่แสดงจากการวัดความดันเลือด หากเป็นค่าปกติก็จะไม่เกิน 120 มิลลิเมตรปรอท
- ค่าวัดความดันตัวล่าง หรือค่า DIA ที่จะเป็นค่าความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว โดยปกติค่าความดันตัวล่างจะเป็นค่าที่สองของหน้าจอเครื่อง ซึ่งปกติจะต้องมีค่าไม่เกิน 80 มิลลิเมตรปรอท

ขั้นตอนในการวัดความดันด้วยตัวเองกับเครื่อง

การวัดความดันโลหิตที่บ้านสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ที่วัดความดันแบบพกพามาตรฐานได้ ซึ่งขั้นตอนการวัดไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด แต่ให้เริ่มต้นวัดที่ต้นแขน ไม่ใช่วัดที่ข้อมือ ยกเว้นการวัดที่ค้นแขนทำได้ยาก อย่างผู้ป่วยที่อ้วนมาก โดยขั้นตอนการวัดความดันเลือดด้วยตนเองทำได้ คือ

- ควรให้ arm cuff หรือแถบวัดขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของต้นแขน คือส่วนที่จะเป็นถุงลม ครอบคลุมรอบได้ ร้อยละ 80 ของเส้นรอบแขน
- เตรียมเครื่องวัดความดัน พร้อมตรวจสอบเครื่องถึงการทำงานปกติ
- นั่งพักที่เก้าอี้ให้ความเหนื่อยลดลง 5 นาที โดยนั่งพิงพนักไม่ให้เกร็งหลัง เท้าทั้ง 2 วางราบไปกับพื้น ห้ามนั่งไขว่ห้าง
- ไม่พูดคุยทั้งก่อนหน้าและขณะที่กำลังจะวัดความดัน
- วางแขนข้างที่จะใช้วัดความดันบนโต๊ะโดยให้บริเวณที่พับแถบอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ
- ไม่เกร็งแขน หรือกำหมัดในขณะที่กำลังวัดความดัน
- ในแต่ละครั้งที่ทำการวัด ควรวัดซ้ำอีกครั้งโดยทิ้งเวลาห่างกัน 1 นาที
- ควรจดบันทึกค่าความดันที่วัดได้ เพื่อเป็นข้อมูลในการใช้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ปัจจุบันเครื่องวัดความดันมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายรุ่น คุณสามารถพิจารณาเลือกดูได้เลยโดยเน้นที่คุณสมบัติ ขั้นตอนการใช้งาน และราคาที่ตอบโจทย์ ทั้งนี้ ควรดูแลรักษาเครื่องให้เหมาะสมด้วย เพื่อการใช้งานที่มีอายุยืนยาว
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF