ความเป็นมาของกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 29 เมษายน 2024 เวลา 14:59:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: 1. อย่าเน้นข้อความด้วยอักษร หรือ เครื่องหมายพิเศษ เช่น +++, !!!,***, ((ขายด่วน)) ฯลฯ
2. อย่าเว้นวรรคตัวอักษรเพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่น ข า ย สิ น ค้า ด่ ว น แ ล้ ว วั น นี้ ฯลฯ
3. อย่าโฆษณา Website หรือมี url ที่หัวข้อโฆษณา และในรายละเอียดรวมทั้งลายเซ็น
(มิเช่นนั้นประกาศของท่านจะเข้าข่ายผิดกฏ และ อาจถูกลบโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า)
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย  (อ่าน 8082 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
HS4YQG
Super Hero Member II
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5892

อิจฉาริษยาเขา เท่ากับจุดไฟเผาตัวเอง


Facebook
« เมื่อ: วันที่ 21 สิงหาคม 2014 เวลา 21:34:40 »


บทความต่อไปนี้ มีคนส่งอีเมลมาให้ผมไม่ประสงค์ออกนาม ผมเห็นว่ามีประโยชน์เลยนำมาลงไว้นะครับ ผิดพลาดตรงไหน ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

     กิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ได้เริ่มด้วยกลุ่มผู้สนใจในกิจการวิทยุสมัครเล่น รวมตัวก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507 และได้พยายามขออนุญาต มีและใช้เครื่องวิทยุโทรคมนาคม สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติยังไม่มั่นใจว่า กิจการวิทยุสมัครเล่นจะได้ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ และการควบคุมจะทำได้เพียงใด เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการวิทยุ สมัครเล่นอีกทางหนึ่ง มีผู้อำนวยการกองต่าง ๆ สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นคณะกรรมการ ขมรมฯ และอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นประธานชมรมฯผู้ที่จะเป็นสมากรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้มีโครงการทดลองให้มีกิจการวิทยุ สมัครเล่นในรูปของ นักวิทยุอาสาสมัคร หรือ VR ขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2524  กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เปิดข่ายวิทยุอาสาสมัครขึ้น โดยจัดตั้งเป็นชมรมนักวิทยุอาสาสมัครสมาชิกจะต้องได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น และต้องผ่านการสอบประวัติจากสำนักข่าวกรองแห่ง ชาติและจากกรมตำรวจว่าไม่เป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติเมื่อมีคุณสมบัติ ครบถ้วนแล้วกรมไปรษณีย์โทรเลขจะออกใบอนุญาตมีและใช้เครื่องวิทยุโทรคมนาคมและ อนุญาตให้เป็นนักวิทยุอาสาสมัครหรือ VR โดยการกำหนดสัญญาณเรียกขาน (CALL SIGN) ให้สัญญาณเรียกขานที่กำหนดขึ้น จะขึ้นต้นด้วย VR และตามด้วยตัวเลขจาก VR001 ไปตามลำดับ ก่อนหลัง เพื่อให้การกำกับดูแลการใช้วิทยุคมนาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ  กรมไปรษณีย์โทรเลขจึง ได้จัดตั้งศูนย์ควบคุมข่ายมีสัญญาณเรียกขานว่า "ศูนย์สายลม"ขึ้น ที่บริเวณภายในกรมไปรษณีย์โทรเลขและอนุญาตให้ใช้ความถี่ได้เพียง 3 ช่องคือ  144.500 - 144.600 และ 144.700 MHzในการเปิดสอบรุ่นแรกมีผู้สอบได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น จำนวน 312 คนการใช้ช่องความถี่ในการติดต่อสื่อสารเริ่ม หนาแน่นขึ้นเมื่อจำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เพิ่มความถี่ให้อีกหนึ่งช่องคือ 145.000 MHz เป็นช่องสำหรับแจ้งเหตุ โดยศูนย์สายลมทำหน้า ที่ประสานงาน ให้ระหว่างนักวิทยุสมัครเล่น และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ  โดยนักวิทยุสมัครเล่นทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับทางราชการ ในกรณีที่นักวิทยุสมัครเล่นพบเห็นผู้กระทำความผิดก็จะแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบเมื่อศูนย์สายลมรับข่าวแล้วจะทำ หน้าที่กลั่นกรองเรียบเรียงข่าวนั้นให้เป็นไปตามหลักการของการส่งข่าวที่ถูกต้องก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจเพื่อดำเนินการตามหน้าที่ต่อไปในทางกลับกันเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการให้นักวิทยุสมัครเล่นช่วย สังเกต ผู้กระทำผิดกฎหมาย เช่น คดีรถหายหรือคดีชนแล้วหนีตำรวจแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบเพื่อ กระจายข่าวให้นักวิทยุสมัครเล่นได้ช่วยสังเกตและติดตามเป็นต้นนอกจากนี้ยังมีโครงการสายตรวจร่วมระหว่างนักวิทยุสมัครเล่นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยให้นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ใช้เครื่องวิทยุ และความถี่วิทยุในย่านของกิจการวิทยุสมัครเล่นในการติดต่อประสานงานและใช้ยานพาหนะ ของนักวิทยุสมัครเล่นออกตรวจตามถนนสายต่าง ๆ ในตอนกลางคืน โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้ หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงเห็นประโยชน์ ของกิจการวิทยุสมัครเล่น ในปีพ.ศ. 2526 ได้มีการจัดตั้งสมาคมนักวิทยุอาสาสมัครขึ้น เพื่อให้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จากผลงานที่นักวิทยุสมัครเล่นในรูปของนักวิทยุอาสาสมัคร ได้รับการยอมรับว่ากิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นกิจการที่มีประโยชน์เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้อนุญาต ให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทยได้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประสานงาน การจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ซึ่งออกเป็นระเบียบของคณะกรรมการประสานงาน การจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 ผลของระเบียบ นี้ทำให้ต้องมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานให้เป็นตามสากลเช่นVR001 เป็น HS1BA และ VR  คนสุดท้ายคือ VR2953 ดังนั้นนักวิทยุสมัครเล่นทุกคนจะต้องมีสัญญาณเรียกขานสากล ที่ขึ้นต้นด้วย HS ซึ่งหมายถึงประเทศไทยตามด้วยเลข 1 ถึง 0 โดยตัวเลขในสัญญาณเรียกขาน นั้นจะแสดง ให้ทราบว่านักวิทยุสมัครเล่นคนนั้นอยู่ในเขตใด เช่นHS1 และ HS0 หมายถึงนัก วิทยุสมัครเล่นภาคกลาง HS9 หมายถึงนักวิทยุสมัครเล่นที่อยู่ภาคใต้ เป็นต้น และตามด้วยอักษร  2 ตัว และ 3 ตัวตามลำดับปัจจุบันมีผู้สอบได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น แล้วจำนวนมากกว่า 160,000 คน และผู้ได้รับอนุญาต มี CALL SIGN แล้วจำนวนมากกว่า 92,000 คนจำนวนช่องความถี่ที่ได้รับอนุญาตให้เพิ่มขึ้นเต็มย่านVHF จำนวน 81 ช่อง  และในปัจจุบันนี้ได้มีการแบ่งช่องย่อยลงไปอีกจากช่องความถี่เดิม จึงทำให้มีช่องใช้งานมากกว่า 160ช่อง และเพื่อความรอบคอบในกรณีที่สัญญาณเรียกขานที่ขึ้นต้นด้วย HS จัดให้หมดแล้ว กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ขอให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) กำหนดอักษรสำหรับ CALL SIGN ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นใหม่ ITU ได้กำหนดให้ใช้ E2 ซึ่งจะใช้แทน HS ต่อไป กิจการวิทยุสมัครเล่นไทยได้สร้างเกียรติประวัติ ในการช่วยเหลือทางราชการในการแจ้งข่าว เมื่อเกิดพายุเกย์พัดเข้าบริเวณจังหวัดชุมพร และจังหวัดใกล้เคียงปลายปี พ.ศ. 2532 ซึ่งทำให้เกิด ความเสียหายอย่างมาก เสาไฟฟ้าแรงสูงและ สายอากาศวิทยุถูกพายุพัดล้ม เสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งระบบสื่อสารของทางราชการถูกตัดขาด ไม่สามารถติดต่อกันได้ รัฐบาลได้ขอความร่วมมือ นักวิทยุสมัครเล่น ให้ช่วยติดต่อรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้น ให้รัฐบาลได้ทราบเพื่อ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมเหล่านั้น นักวิทยุสมัครเล่นได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้รัฐบาลสามารถทราบถึงความเดือดร้อนและ ความเสียหายของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและ สามารถที่จะให้ความช่วยเหลือได้อย่าง มีประสิทธิภาพรัฐบาลได้เห็นประโยชน์ของนักวิทยุเป็น อย่างดียิ่ง และยอมรับว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการที่มีความสำคัญควรได้รับการสนับสนุน ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป และได้ถือว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นคือข่ายสำรองฉุกเฉิน
บันทึกการเข้า

ติดต่อสอบถามได้ที่  โทร/ LINE ID: 0833687201
BakaHam2014
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 119


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 23 สิงหาคม 2014 เวลา 23:44:16 »

เรื่องนี้เรานำมาเล่ากันกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ใจความหลักอาจจะไม่เปลี่ยไปมากนัก อยู่ที่คนเล่าครับ
ว่าเขียนบรรยายเนื้อหาต่างๆได้มากน้อยแค่ไหน บางครั้งอ่านแล้วเหมือนกำลังอ่านหนังสือวิชาประวัติศาสตร์
เนื้อหาครบมีชื่อมีตัวตนของคนที่เกี่ยวข้อครบถ้วน หรือเหมือนได้อ่านนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เน้นไปถึงแต่มุมใดมุมหนึ่ง
ที่ตัวผู้เล่าต้องการชี้ให้ทราบกันครับ เช่น

ถ้าเป็นนในมุมมองของนักวิทยุสมัครเล่นที่อิงกิจการวิทยุสมัครเล่นสากล อาจจะเป็นว่าที่

เมื่อมีการนำวิทยุสื้อสารเข้ามาแล้ว กลุ่มคนไทยเองได้ศึกษาและพยายามทำให้วิทยุเป็นสิ่งมีประโยชน์ ในที่สุดการเสียสละ
ของนักวิทยุอาสานั้นได้ก่อให้เกิดเป็นกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย และเม่ือได้รับการรับรองจากรัฐ ได้รับ
Prefixสากลจาก ITU นักวิทยุสมัครเล่นไทยก็เลิกใช้ Call Sign VR แล้วมาใช้ HS หลังจากที่กิจการได้ผ่านเวลาบ่มเพาะ
ไประยะหนึ่งความต้องการความถี่เพื่อการทดลอง ทำให้ต้องมีการขยายความถี่ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นักวิทยุสมัครเล่นเองพยายาม
พัฒนาให้ทัดเทียมชาวโลก ทั้งศึกษารูปแบบการติดต่อใหม่ๆ และพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อนานาชาติ พยายามติดต่อ
ไปให้ได้ทั่วโลก มีการนำข่าวสารและนำการแข่งขันรายอากต่างๆเข้ามาให้ได้เล่น ให้ได้รับรางวัลกันอย่างต่อเนื่อง ในเวลาเดียวกัน
เมื่อเกิดภัยพิบัตินักวิทยุสมัครเล่นก็ได้ร่วมกันนำความรู้ความสามารถทางด้านการสื่อสาร และอุปกรณ์ เทคโนโลยีต่างๆ ที่ได้ศึกษามา
ใช้ให้เกิดเป็นเครือข่ายติดต่อเมื่อข่ายหลักไม่สามารถใช้งานได้ เช่นเมื่อคราวสึนามิ นักวิทยุสมัครเล่นได้นำเทคโนโลยีทันสมัยต่างๆ
เช่นระบบ Echolink ที่นักวิทยุทั่วโลกใช้งานกัน จนทำให้สวามารถติดต่อ ช่วยเหลือกันได้ทั่วประเทศ และเมื่อทุกอย่างกลับสู่ปกติ
เหล่านักวิทยุสมัครเล่นก็พากันกลับมาศึกษา ทดสอบทดลอง ตามเจตนารมณ์ของกิจการวิทยุสมัครเล่นสากล กันต่อไป และภาครัฐเอง
ก็ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพในตัวกิจการวิทยุสมัครเล่น และนักวิทยุสมัครเล่นไทย จึงได้มอบหมายให้ กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นข่ายสำรอง


ทีนี้พอมาเขียนในฐานะคนที่มีใจมุ่งเน้นการใช้กิจการวิทยุสมัครเล่นเพื่อกิจการจิตอาสา อาจจะเขียนไปในทิศทางเช่นว่า
แรกเริ่มเดิมที่ เมื่อมีการนำวิทยุเข้ามาและเกิดเป็นนักวิทยุสมัครอาสาสมัครขึ้น เริ่มใช้Call sign VR (Voluntary Radio)
ตามด้วหมายเลข ติดต่อกันผ่านความถี่วิทยุที่จัดสรรค์ให้3 ช่องคือ  144.500 - 144.600 และ 144.700 MHz และ
เพื่อให้การกำกับดูแลการใช้วิทยุคมนาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ  กรมไปรษณีย์โทรเลขจึง ได้จัดตั้ง
ศูนย์ควบคุมข่ายมีสัญญาณเรียกขานว่า "ศูนย์สายลม"ขึ้น เมื่อจำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น เกิดการใช้ช่องความถี่เริ่มหนาแน่นขึ้น
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เพิ่มความถี่ให้อีกหนึ่งช่องคือ 145.000 MHz เป็นช่องสำหรับแจ้งเหตุ
โดยศูนย์สายลมทำหน้า ที่ประสานงาน ให้ระหว่างนักวิทยุสมัครเล่น และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ  โดยนักวิทยุทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี
ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับทางราชการ ในกรณีที่นักวิทยุสมัครเล่นพบเห็นผู้กระทำความผิดก็จะแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบเมื่อศูนย์สายลมรับข่าวแล้วจะทำ
หน้าที่กลั่นกรองเรียบเรียงข่าวนั้นให้เป็นไปตามหลักการของการส่งข่าวที่ถูกต้องก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจเพื่อดำเนินการตามหน้าที่ต่อไป
เหล่านักวิทยุสมัครอาสาสมัครได้ออกอุทิศตนเพื่อสังคมเรื่อยมา จนหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงเห็นประโยชน์ และต่อมา
ในปีพ.ศ. 2526 ได้มีการจัดตั้งสมาคมนักวิทยุอาสาสมัคร (VRA)ขึ้น เพื่อให้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จากผลงานที่นักวิทยุอาสาสมัครได้ทำไว้ จึง
ได้รับการยอมรับว่ากิจการ เป็นกิจการที่มีประโยชน์เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้อนุญาต ให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่น
ในประเทศไทยได้ เมื่อเปลี่ยนจากนักวิทยุอาสาสมัครมาเป็นนักวิทยุสมัครเล่น เปลี่ยนมาใช้ HSตามสากลแล้ว ก็ยังสร้างผลงานต่างๆอีกมากมาย
เช่นเมื่อคราวเกิดเมื่อเกิดพายุเกย์พัดเข้าบริเวณจังหวัดชุมพร และจังหวัดใกล้เคียงปลายปี พ.ศ. 2532 ซึ่งทำให้เกิด ความเสียหายอย่างมาก เสาไฟฟ้าแรงสูงและ
สายอากาศวิทยุถูกพายุพัดล้ม เสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งระบบสื่อสารของทางราชการถูกตัดขาด ไม่สามารถติดต่อกันได้ รัฐบาลได้ขอความร่วมมือ
นักวิทยุสมัครเล่น ให้ช่วยติดต่อรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้น ให้รัฐบาลได้ทราบเพื่อ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมเหล่านั้น
นักวิทยุสมัครเล่นได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้รัฐบาลสามารถทราบถึงความเดือดร้อนและ ความเสียหายของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและ
สามารถที่จะให้ความช่วยเหลือได้อย่าง มีประสิทธิภาพรัฐบาลได้เห็นประโยชน์ของนักวิทยุเป็น อย่างดียิ่ง และยอมรับว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นเป็น
กิจการที่มีความสำคัญควรได้รับการสนับสนุน ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป และได้ถือว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นคือข่ายสำรองฉุกเฉิน

เป็นอย่างไรครับ อ่านทั้ง2แบบแล้ว คงยากจะเชื่อว่าเป็นเรื่องความเป็นมาของกิจการวิทยุสมัครเล่นเหมือนกันใช่ไหมครับ
ดังนั้นต้องอ่านจากหลายๆที่กลั่นกลองออกมาให้เห็นทุกมิติครับ
บันทึกการเข้า
HS4YQG
Super Hero Member II
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5892

อิจฉาริษยาเขา เท่ากับจุดไฟเผาตัวเอง


Facebook
« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2014 เวลา 14:08:04 »

ขอบคุณครับ ท่าน BakaHam2014 ช่วยๆกัน ผมเองพยายามหาข้อมูลเรื่อยๆ ผิดตกบกพร่องตรงไหน แนะนำแก้ไขได้เลยครับ
สำหรับคนที่ไม่รู้จะได้รู้ คนที่รู้แล้วจะได้เป็นการเสริม
บันทึกการเข้า

ติดต่อสอบถามได้ที่  โทร/ LINE ID: 0833687201
Jaanjaowka
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 19:01:24 »

เป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิทยุสื่อสารที่ไม่เคยรู้มาก่อน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF