นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น กับ บัตรยืนยันการติดต่อ
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 29 เมษายน 2024 เวลา 20:51:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ห้ามโพสปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด
หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น กับ บัตรยืนยันการติดต่อ  (อ่าน 4850 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
BakaHam2014
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 119


อีเมล์
« เมื่อ: วันที่ 29 สิงหาคม 2014 เวลา 16:05:22 »



ในฐานะนักวิทยุสมัครเล่น ถ้าจะเก็บสะสมอะไรสักอย่าง (ไม่นับวิทยุกับสายอากาศ) ก็คงจะเป็น
เจ้าบัตรยืนยันการติดต่อ (QSL Card) นี่แหล่ะครับ โดยส่วนตัวตั้งแต่ได้เป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
ได้ทำการติดต่อแลกเปลี่ยนบัตรยืนยันการติดต่อ นำมาเก็บสะสมมาได้จำนวนหนึ่ง (น้อยจนน่าอาย)
และส่วนใหญ่เป็นการแลกกับเพื่อนๆ พี่ๆที่เป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง การ์ดจากเพื่อนๆที่เป็น
นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ด้วยกันนั้น แทบจะรู้สึกว่ามันเป็นของหายากเลยครับ เพราะบ่อยครั้งมาก
ที่ได้เอ่ยปากจะขอแลก QSL Card ด้วย แล้วก็ได้รับคำตอบว่าไม่มีการ์ดจะแลก เลยขอมาเล่าว่า
QSL Card นั้นทำไม่ยาก และมีความสำคัญอย่างไรครับ
 
สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นนั้นการลง Log และมี QSL Card ไว้แลกกับสถานีอื่นๆนั้นเป็นสิ่งที่ดี
แนะนำให้ฝึกทำไว้ให้เป็นนิสัยครับ การส่งบัตรยืนยันการติดต่อให้กันและกันนั้นเป็นเหมือนการจับมือ
ทำความรู้จักกันของนักวิทยุสมัครเล่นสองคนก็ว่าได้ครับ และยังเป็นเครื่องยืนยันความสามารถของ
นักวิทยุสมัครเล่นคนนั้นว่าสามารถติดต่อได้หลายสถานี และหลายโหมดครับ

เมื่อเราสะสม QSL Card ไปเรื่อยๆ ก็จะมีหลายรางวัลที่สามารถจะขอได้ (นับแต่ ที่แลกกับคู่สถานี
สำเร็จแล้ว คือ ได้ส่งไปขอยืนยันการติดต่อแล้ว และได้รับการตอบกลับมายืนยันการติดต่อแล้ว)
รางวัลของทาง นิตยสาร 100Watts ก็มีหลายตัวครับ เช่น ติดต่อกับนักวิทยุสมัครเล่นได้ครบ 9เขต
ประเทศไทย, ติดต่อได้ครบทุก Grid locator ของประเทศไทย หรือจะเป็นของต่างประเทศก็เยอะครับ

อีกทั้งเมื่อเรามีสถานีที่ดีขึ้นสามารถรับฟังสัญญาณขาลง (Downlink) จากดาวเทียมบางดวงได้
และเขียนรายงานกลับไป ก็จะได้รับ QSL Card จากทีมงานด้วยครับ และแน่นนอนว่าการติดต่อกับ
สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ก็สามารถเขียน QSL Card (หรือฟังอย่างเดียว ก็เป็น SWL Card)
ส่งไปขอแลกได้เช่นกันครับ

ARISS QSL card หน้าตาแบบนี้ครับ


ในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นได้รับใบอนุญาตจากกสทช ให้สามารถออกอากาศใน
ความถี่ 10Meter (28MHz) ก็จะสามารถติดต่อได้มากกว่านี้ และต้องมีQSL Card ไว้ตอบกลับ
นักวิทยุสมัครเล่นต่างชาติอีกด้วยครับ ดังนั้นจะเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัวอีกไม่ได้แล้วครับเพราะ
ถ้าเขาส่งCard มาแล้ว เราไม่ตอบกลับไปจะเป็นการเสียมารยาท และทำให้ประเทศชาติเสียชื่อครับ 

บน QSL Card โดยทั่วไปแล้วต้องระบุรายละเอียดอะไรบ้าง ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงยอดนิยมของผม
เว็ปไซต์ eham.net ลงรายละเอียดไว้ดังนี้ครับ

   •   your call sign (นามเรียกขานของตนเอง)
   •   your name and address (ชื่อจริง และที่อยู่ของตนเอง)
   •   a place to write (สิ่งที่ต้องเขียนให้ชัดเจน อาจจะใช้รูปแบบตารางก็ได้ครับ)

- the call of the station you contacted (นามเรียกขานของคู่สถานี)

- the date (ใช้รูปแบบ DD/MM/YY เพื่อง่ายในการอ่าน)

- time in UTC  (เวลาสากลนั้นช้ากว่าไทย 7ชมครับ ต้องแปลงวันและเวลาให้ดี)

- frequency or band (ความถี่ที่ใช้ในการติดต่อ จะเขียนเป็น MHz หรือ Meter Band ก็ได้)

- mode (SSB, CW, Rtty, etc.) (โหมดที่ใช้ติดต่อ เช่น FM, SSB, RTTY, APRS, ฯลฯ)

- RST (รายงานค่าการรับฟัง RST แต่ละโหมดใช้ต่างกันไปนิดนึง ต้องศึกษาให้ดีนะครับ )
   •   a request to QSL or thanks for a QSL received. (ขอไปยืนยัน หรือ ตอบยืนยัน)

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าใส่ไว้บนบัตรด้วยเช่นกันคือ

   •   your station (ข้อมูลสถานีของเรา เครื่องที่ใช้ (Rig), สายอากาศที่ใช้ (Ant), ฯลฯ)
   •   your CQ and ITU zones (ไทยเราคือ CQ 26 และ ITU 49 ครับ)
   •   your grid location (Grid Locator เพื่อให้ทราบว่าเราอยู่ตรงไหนของโลกครับ)
ใครที่สนใจเรื่อง Grid locator อยากรู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหน แนะนำให้ลองเข้าไปอ่านทำความเข้าใจ ที่
http://www.hs8jyx.com/html/grid_locator.html พี่เขาเขียนไว้อ่านเข้าใจง่ายครับ

ผมขอเพิ่มเติมว่า ให้เว้นที่ไว้สำหรับเขียนข้อความส่วนตัว (Remark:) ให้คู่สถานีสักนิดก็ดีครับ

การลงรายละเอียด ก็ไม่ยากครับ ดูวันเลาติดต่อ (UTC Time), Call Sign, และข้อมูลอื่นๆ
จาก Log ที่ได้จดไว้แล้ว วิธีนี้จะดีที่สุดแค่นั่งโต๊ะเปิดสมุดเขียนตามได้เลย 

Call Sign, Date, Time, Freq., Mode, RST
HS0AC  12/08/2014 1300z 144.9375 MHz FM 59     
Remark: ขอบคุณสำหรับการติดต่อครับ
X PSE QSL TNX (เราส่งไปขอแลกครับ)

HS0AC 13 Aug 2014 1300z 2M Band SSTV 595
 Remark: ขอบคุณสำหรับการติดต่อ รับภาพโหมด Robot 36ได้ชัดเจนมากครับ
(สำหรับ SSTV อาจจะแนบรูปที่รับมาได้ใส่ซองไปให้ด้วยนะครับ)
PSE QSL  X TNX (เราส่งไปตอบกลับ เพื่อยืนยันครับ)

ตัวอย่าง QSL Card จริงๆที่เขาเขียนส่งกันครับ



ขอใช้พื้นที่ตรงนี้อธิบายหลักการเปลี่ยนเวลาไทยให้เป็นสากลอีกรอบนะครับ สำหรับเวลาประเทศไทย
นั้นเร็วกว่าเวลาสากล 7ชั่วโมง (ICT – Indochina Time: UTC+7) ดังนั้นในการแปลงเวลาก็แค่
นำเวลาไทยไป ลบ7 ครับ เช่น 21.15น ก็คือ 14:15UTC ครับ อย่างไรก็ดี เมื่อเปลี่ยนเป็นเวลาสากล
อย่าลืมดูให้ดีว่าวันที่นั้นต้องเปลี่ยนด้วยหรือไม่ครับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ป้องกันความสับสนในภายหลังครับ เช่น
เราทำการติดต่อ 14 Aug 2014 06:33น เวลาประเทศไทย เมื่อเราแลงเป็นเวลาสากลแล้ว จะกลายเป็น
ว่า ทำการติดต่อกันในวันที่ 13 Aug 2014 23:33z ครับ เพื่อความสะดวกแนะนำให้หานาฬิกาดิจิตอล
ราคาไม่แพงมาตั้งเวลาสากลแล้ววางทิ้งไว้บนโต๊ะวิทยุเลยครับ

การออกแบบ QSL Card คงไม่ยากเกินความสามารถของนักวิทยุสมัครเล่นไทยแน่นอนครับ แต่เพื่อ
ความสะดวกลองเปิดดูจาก Google ดูหาแรงบันดาลใจดูก็ดีนะครับ จะได้นึกออกว่าแบบไหนออกมา
โดนใจเราครับ ตามใจของผู้ใช้งาน จะใช้  Photo Shop ทำขึ้นมาก็ดีครับโดยทั่วไป กำหนดให้บัตรมี
ขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 3.5 x 5.5นิ้วครับ (เวลาออกแบบไปสั่งพิมพ์ ทางโน้นจะบอกขนาดมาอีกทีครับ)
จะเป็นแนวตั้งแนวนอนก็ได้ จัดวางองค์ประกอบให้ดี จะทำแบบ หน้าเดียวสองสี หรือจะเป็นแบบหน้าหลัง
(มีรูปด้านนึง และเขียนข้อความอีกด้าน) ก็ได้ครับ

ใครที่ไม่ถนัด ไม่อยากออกแบบเอง กลัวผิดพลาด อย่าไปกลัวครับลองดูก่อน สมัยนี้สะดวกครับ สามารถ
เข้าไปที่เว็ปไซต์ http://www.radioqth.net/qslcards แล้วกรอกข้อมูลต่างๆให้ครบ แต่ให้เว้นข้อมูล
ของอีกฝ่ายไว้เพราะเราจะไปเขียนใส่เพิ่มเอาเองที่หลังครับ ข้อมูลหลักๆที่จำเป็นก็คือ Call Sign ชื่อที่อยู่
และถ้าเป็นสมาชิกกลุ่ม ชมรม หรือสมาคม ก็สามารถจะใส่ Logo ลงไปได้ครับ แต่ขอให้เป็นพื้นสีขาว หรือ
ไม่มีสีครับ สำหรับข้อมูลอื่นๆเพิ่ม เช่น Grid locator, cq zone และ itu zone ไปเขียนเอาทีหลังได้ครับ
ดูว่าแบบที่ได้มานั้นถูกใจหรือไม่ ก็จะได้ออกมาเป็นไฟล์ PDF ค่อยๆแก้ไปจนพอใจ เล่นไปเรื่อยๆจนสวยครับ
อันสุดท้ายที่ถูกใจก็นำไป Print 1 แผ่นมี 3ใบครับ เอามาตัดและติดลงบน Postcard สวยๆ แบบนี้ก็ใช้เป็น
QSL Card ได้ครับ ยิ่งถ้าต้องส่งไปหรือตอบกลับจำนวนเยอะมากๆแนะนำให้หา Logging Software
ที่สามารถพิมพ์ข้อมูลการติดต่อลงบนสติกเกอร์ได้มาใช้ จะสะดวกและประหยัดเวลามากครับ


เขียนมายาวขนาดนี้แล้วไม่แนบท้ายด้วย ตัวอย่าง QSL Card ก็คงไม่ได้ครับ ลองเข้าไปดูนะครับ
เผื่อมีแบบที่ชอบในจำนวนนี้ก็จะได้ Save มาไว้เป็นตนแบบในการทำการ์ดของเราเองครับ







ท้ายเป็นแบบที่ซื้อมีขายอยู่ในร้านวิทยุของต่างประเทศ เขามีขายให้ซื้อมาใส่Call Sign และข้อมูลเอาเองครับ


สำหรับเรื่องของการส่งและการตอบกลับ QSL Card ก็เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจ
แล้วจะมาเล่าให้ฟังกันอีกนะครับ
บันทึกการเข้า
HS4YQG
Super Hero Member II
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5892

อิจฉาริษยาเขา เท่ากับจุดไฟเผาตัวเอง


Facebook
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 29 สิงหาคม 2014 เวลา 18:01:38 »

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล
บันทึกการเข้า

ติดต่อสอบถามได้ที่  โทร/ LINE ID: 0833687201
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF