บอกตามตรง สงสัยมานานแล้วครับ ช่วยอธิบายให้ฉลาดสะทีเถอะ อิอิ
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 30 เมษายน 2024 เวลา 13:59:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เตือนเพื่อนสมาชิก ระวัง นาย ธนันท์ วงค์วัฒนามงคล หลอกลวงสมาชิกที่ลงหาของในเวปโดยอ้างว่ามีสินค้าขายในราคาถูกและให้โอนเงินแต่ไม่ส่งสินค้าให้ โดยขณะนี้มีผู้ถูกหลอกหลายราย เบอร์โทรที่ใช้ 088-9526897 บัญชี ธ.ทหารไทย 2152261794/ ธ.กสิกรไทย 8530024230
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บอกตามตรง สงสัยมานานแล้วครับ ช่วยอธิบายให้ฉลาดสะทีเถอะ อิอิ  (อ่าน 15342 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
HS0LXI_อ้วน เมืองลิง
Super Member
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1617


ลพบุรีบ้านเกิดถิ่นกำเหนิด HS0LXI (อโยธยา ราชธานี)


อีเมล์
« เมื่อ: วันที่ 18 กรกฎาคม 2013 เวลา 20:02:09 »


คำว่า "เรกูเรท" ผมพอจะเข้าใจว่าหมายถึงอะไร
แต่เดี๋ยวนี้มีคำว่า "สวิทชิ่ง" เลย งง ว่ามันคืออันเดียวกันมั้ยครับ

ฝากผู้รู้ ตอบให้ผม หายโง่ หน่อยเถอะคราบบบบบบบบ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

081-2913050 / ID Line : lopburi999
 
2eo
Sr. Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 333

ฟาร์ม..สุข 08-5286-5286


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 18 กรกฎาคม 2013 เวลา 20:37:53 »

  ไม่รู้ว่าผมจะช่วยได้ไหม บอกก่อนว่าไม่เก่งภาษา  และจบช่างก่อสร้าง ไม่ใช่อิเล็ก..

...ผมเคยได้ยินคนคุยกันในความถี่

  1-ท่านใช้ เรกกลูเรท ชนิดใดครับ?
 2- ผมใช้ เป็นเพาเวอร์ซับพลาย  30แอมป์ครับ

  ฟังแล้ว งง งง  ไหมครับ  

  วิทยุที่เราใช้รับส่ง มันก้อเหมือนคนเรานี่แหละ  คือมันต้องกิน เหมือนเรากิน  มันถึงจะมีแรงรับและส่งเสียงให้เราได้ยิน แล้วมันก้อต้องออกแรงส่งสัญญาณไปไกลๆด้วย   ยิ่งตัวใหญ่ก้อยิ่งกินจุ

 ฉะนั้น  อาหารที่เรากิน มันก้ออาจจะเรียกได้ว่าแหล่งพลังงาน   เช่นเดียวกันวิทยุก้อต้องมีแหล่งพลังงาน  ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานแบบไหน มันก้อคือแหล่งพลังงาน(เพาเวอร์ซับพลาย)   กลับกัน แปลเป็นไทย เพาเวอร์ซับพลาย=แหล่งพลังงาน  

กลับมาที่  คน เราๆ  แหล่งพลังงานของคนเรา มีกี่ชนิด ?  
โอ้ยเยอะ  อันนี่เรยกว่าประเภท ข้าวแกง  ผัดไทย  เตี๊ยวไก่  ไข่ดาว  ส้มตำหรือ ยำวุ้นเส้น  นี่คือพลังงานทั้งนั้น

กับมาที่วิทยุ
 
แหล่งพลังงานของวิทยุเรา คือเพาเวอร์ซับพลาย  ก้ออาจจะแบ่งเป็นประเภท ได้ 2 ประเภทกระมั่ง ที่ปล่อยไฟมาให้วิทยุเรากิน
-  แบตเตอรรี่
- หม้อแปลง  หม้อแปลงก้อน่าจะแบ่งเป็น 2ชนิด ตามหลักการทำงาน ตามที่ท่านพี่ สังสัย (เอาแบบเข้าใจแบบ งง งง อย่างผม)
1.หม้อแปลงแบบ เรกกลูเรเตอร์  ไอ้ที่มีขดลวดหนักๆ นั้นแหละ  อันนี้อาจเรียกว่าข้าวแกง

2.หม้อแปลงแบบ  สวิทชิ่ง  เบาๆ มีอุปกรณ์มากมาย และไฟดูด   อันนี้อาจเรียกว่า ก๊วยเตี๊ยว


  ผิดถูกยังไงก้อช่วยชี้แนะด้วยนะครับ ทุกๆท่าน ยิงฟันยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 18 กรกฎาคม 2013 เวลา 20:49:44 โดย 2eo » บันทึกการเข้า

คุณงามความดีที่ข้าพเจ้าพอจะทำได้ขอมอบแด่..แผ่นดินที่ยืน พ่อแม่ ครู อาจารย์ พี่ เพื่อน น้อง ทั้งผู้มีบุญคุณที่ช่วยเหลือสั่งสอนเดินร่วมทางทั้งยามสุขทุกข์รวมถึงเจ้ากรรมนายเวร..ขอบคุณครับ
eagle j733
Super Member
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1595


ราชสีห์ ผู้ภักดีต่อแผ่นดิน


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 18 กรกฎาคม 2013 เวลา 20:41:55 »


  ไม่รู้ว่าผมจะช่วยได้ไหม บอกก่อนว่าไม่เก่งภาษา  และจบช่างก่อสร้าง ไม่ใช่อิเล็ก..

...ผมเคยได้ยินคนคุยกันในความถี่

  1-ท่านใช้ เรกกลูเรท ชนิดใดครับ?
 2- ผมใช้ เป็นเพาเวอร์ซับพลาย  30แอมป์ครับ

  ฟังแล้ว งง งง  ไหมครับ 

  วิทยุที่เราใช้รับส่ง มันก้อเหมือนคนเรานี่แหละ  คือมันต้องกิน เหมือนเรากิน  มันถึงจะมีแรงรับและส่งเสียงให้เราได้ยิน แล้วมันก้อต้องออกแรงส่งสัญญาณไปไกลๆด้วย   ยิ่งตัวใหญ่ก้อยิ่งกินจุ

 ฉะนั้น  อาหารที่เรากิน มันก้ออาจจะเรียกได้ว่าแหล่งพลังงาน   เช่นเดียวกันวิทยุก้อต้องมีแหล่งพลังงาน  ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานแบบไหน มันก้อคือแหล่งพลังงาน(เพาเวอร์ซับพลาย)   กลับกัน แปลเป็นไทย เพาเวอร์ซับพลาย=แหล่งพลังงาน

  กลับมาที่  คน เราๆ  แหล่งพลังงานของคนเรา มีกี่ชนิด ?   
โอ้ยเยอะ  อันนี่เรยกว่าประเภท ข้าวแกง  ผัดไทย  เตี๊ยวไก่  ไข่ดาว  ส้มตำหรือ ยำวุ้นเส้น  นี่คือพลังงานทั้งนั้น
กับมาที่วิทยุ
 แหล่งพลังงานของวิทยุเรา คือเพาเวอร์ซับพลาย  ก้ออาจจะแบ่งเป็นประเภท ได้ 2 ประเภทกระมั่ง ที่ปล่อยไฟมาให้วิทยุเรากิน
-  แบตเตอรรี่
- หม้อแปลง  หม้อแปลงก้อน่าจะแบ่งเป็น 2ชนิด ตามหลักการทำงาน ตามที่ท่านพี่ สังสัย (เอาแบบเข้าใจแบบ งง งง อย่างผม)
1.หม้อแปลงแบบ เรกกลูเรเตอร์  ไอ้ที่มีขดลวดหนักๆ นั้นแหละ  อันนี้อาจเรียกว่าข้าวแกง

2.หม้อแปลงแบบ  สวิทชิ่ง  เบาๆ มีอุปกรณ์มากมาย และไฟดูด   อันนี้อาจเรียกว่า ก๊วยเตี๊ยว


  ผิดถูกยังไงก้อช่วยชี้แนะด้วยนะครับ ทุกๆท่าน ยิงฟันยิ้ม
อืมม์..เยี่ยมครับ ผมใช้มาตั้งนาน บางอันผมยังเรียกผิดเรียกถูกเลยครับ อิอิ
บันทึกการเข้า

ชีพนี้ยอมพลีเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชนบนเหตุผลของความถูกต้อง >>>>> โทร. 080-989-5469 / LINE. hamsiam.in.th ยินดีรับใช้ครับ
พี่หมอ
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 657


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 18 กรกฎาคม 2013 เวลา 20:51:33 »

เวลาผมไปซื้อ แหล่งจ่ายไฟ ผมจะดูว่า

- ถ้ามีหม้อแปลง (ขดลวดพันแกนเหล็ก) อันนี้ เป็น เรทกลูเรท  ดูต่อไปด้วยว่า ปรับแรงดันไฟได้ด้วยไหม กี่แอร์ม(แอร์มผีหลอกอะเปล่า) มี คอนเดนเซอร์ กรองกระแสดีไหม  เรตกลูเรทจะหนักเพราะใช้หม้อแปลง เป็นแหล่งจ่ายไฟหลัก
   เวลาเสีย ก็ยังนิยมซ่อมใช้กันต่อ ถ้าหม้อแปลงไม่ใหม้  

- ส่วนสวิตย์ชิ่ง ไม่หนัก แต่ถ้าเสียหาอะไหล่ยาก วงจรซับซ้อน  

 ดูแป็บเดียวก็รู้ว่า อันนี้ เรตกลูเรท  อันนี้สวิตชิ่ง ครับ

 ส่วนตัวผม นิยมแบบ เรตกลูเรท ครับ
 
 สวิตย์ชิ่ง ก็เคยใช้ เรื่องเบานะมันเบาจริงอยู่ แต่เวลาเสียก็ เสียซะดื้อๆครับ



บันทึกการเข้า
HS6RJC
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 127



Facebook อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 18 กรกฎาคม 2013 เวลา 20:58:59 »

หลักการทำงานของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย
สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายทำงานโดยการแปลงแรงดันไฟสลับความถี่ต่ำจากอินพุตเป็นไฟตรง จากนั้นจึงเปลี่ยนกลับไปเป็นไฟสลับที่ความถี่สูง แล้วส่งผ่านหม้อแปลงเพื่อลดแรงดันลง และผ่านวงจรเรียงกระแสและกรองแรงดันเพื่อให้ได้ไฟตรงอีกครั้งหนึ่ง สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ คือ วงจรฟิลเตอร์และเรกติไฟเออร์ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับเป็นไฟตรง  คอนเวอร์เตอร์ ทำหน้าที่แปลงไฟตรงเป็นไฟสลับความถี่สูง และแปลงกลับเป็นไฟตรงโวลต์ต่ำ และวงจรควบคุมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอนเวอร์เตอร์ เพื่อให้ได้แรงดันเอาต์พุตตามต้องการ


ส่วนประกอบของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย
    1.ตัวกล่อง ตัวกล่องจะทำด้วยโลหะยึดติดกันด้วยสกรู มีรูปร่างและขนาดต่างกันไป มีหน้าที่ปกปิดส่วนประกอบภายในที่อันตรายต่อการจับต้อง และป้องกันสัญญาณความถี่สูงออกมารบกวนภายนอก
    2.สวิทซ์เปิด/ปิด ใช้ เปิด/ปิด การทำงานของเพาเวอร์ซัพพลาย
    3.สวิทซ์เลือกแรงดัน ใช้เลือกแรงดันที่จะต่อเข้ากับเพาเวอร์ซัพพลาย ว่าเป็น 220 หรือ 110 โวลต์ ซึ่งจะต้องเลือกให้ถูกต้องตรงกับการใช้งาน ถ้าเลือกผิดอาจจะทำให้เกิดการชอร์ต หรือระเบิดได้
    4.วงจรแปลงไฟ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่แปลงไฟและรองรับการทำงานอื่นๆของเพาเวอร์ซัพพลาย
    5.พัดลม  ทำหน้าที่ระบายความร้อนจากการใช้งาน       
    6.ฟิวส์(Fuse) ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟเกินขนาด ซึ่งมักจะเกิดจากความเสียหายภายในตัวเพาเวอร์ซัพพลายเอง เพราะส่วนใหญ่แล้วเพาเวอร์ซัพพลายจะมีระบบป้องกันการจ่ายไฟเกินอยู่แล้ว โดยที่หากมีการจ่ายกระแสมากเกิดกำหนดก็จะตัดไฟไม่ให้จ่ายออกมาทำให้ลดความเสียหายลงได้ แต่ถ้าเกิดการชอร์ตภายในตัวเพาเวอร์ซัพพลายเองก็จะต้องอาศัยฟิวส์เป็นตัวป้องกัน

ใช่ไหมหนอที่มา http://webserv.kmitl.ac.th/s1010958/web/php/SwitchingPowerSupply.php





บันทึกการเข้า


144.850MHz สี่แควสัมพันธ์ นครสวรรค์ แง๊ะ
บก.อส.จ.นว. 0984422สาม สี่ สี่
McOver
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 16



อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2013 เวลา 01:29:28 »

     แหล่งจ่ายกำลังงาน หรือ Power Supply ที่แปลงไฟบ้าน 220Vac 50Hz เป็นระดับ 13.8Vdc หรือที่ระดับอื่นแล้วแต่จะเอาไปใช้ ที่รู้จักมี 2 แบบ
     1. แบบ conventional หรือแบบหม้อแปลง EI ที่เป็นแกนเหล็ก ร่วมกับ ไดโอด+คาปาซิเตอร์ เพราะเราต้องการไฟกระแสตรงเลยต้องมีไดโอด ส่วนคาปาซิเตอร์ทำหน้าที่สำรองไฟให้เรียบ เพราะไฟที่ผ่านไดโอดมันมีรัมเบิ้ล ไฟจะเรียบใกล้เคียงไฟกระแสตรงแค่ไหนขึ้นอยู่กับ ความจุของคาปาซิเตอร์ ยิ่งมากก็ยิ่งดี อุปกรณ์แค่นี้ก็ใช้ได้แล้ว แต่...
    ความจริง ไฟ 220Vac มันไม่ได้คงที่ตลอดเวลา มีขึ้น-ลง ทำให้แรงดันขาออกมันสวิงตามไปด้วย ฝรั่งมันก็เลยหาทางแก้ปัญหานี้ เลยมีวงจรเร็คกูเรเตอร์ขึ้นมา อันนี้เรียกว่าแบบ Linear Regulator ให้แรงดันไฟขาเข้ามากกว่าขาออกเล็กน้อย เช่น เข้า 15V ผ่านวงจรแล้วเหลือ 13.8V ถ้าแรงดันขาเข้าไม่ต่ำกว่าขาออกคือ 13.8V มันก็ยังรักษาแรงดันไว้ได้ ถ้าต่ำกว่าก็ไม่รอดเหมือนกัน
     สรุปได้ว่า เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่จำเป็นที่จะต้องมีวงจรเร็คกูเลเตอร์เสมอไป เพราะทำไห้เครื่องมันแพงขึ้น อย่างหม้อแปลงราคาถูกแบบวอลล์ชาร์จ เป็นต้น แต่ถ้าเอาแบบไม่มีเร็คกูเลเตอร์มาใช้ คงไม่ค่อยดีกับวิทยุสื่อสาร ซึ่งมีราคาแพง เพาเวอร์ซัพพลายที่ทำมาสำหรับวิทยุสื่อสาร เลยต้องมีวงจรนี้ใส่มาด้วย เพื่อความเสถียรในการทำงาน
ตรงนี้คนไทยเราขี้เกียจเรียกยาวเต็มคำ จาก เร็คกูเลเตอร์เพาเวอร์ซัพพลาย เลยย่อมันซะว่า เร็คกูเลต
     2. แบบ Switching สวิทซ์ชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย เป็นแบบที่พัฒนาต่อมาจากแบบแรก ซึ่งมีข้อเสียเยอะ น้ำหนักมาก ความร้อนสูง ไม่ประหยัดไฟ กินเนื้อที่ เลยพัฒนามาเป็นแบบสวิทซ์ชิ่งที่ประสิทธิภาพสูงกว่า  น้ำหนักเบา ประหยัดไฟกว่า มีการรักษาเสถียรภาพแรงดันขาออกโดยอาศัยการป้อนกลับ แรงดันเลยแทบจะคงที่ตลอดเวลา เหมือนมีภาคเร็คกูเลเตอร์มาแล้วเป็นภาคบังคับ
     ตามความเข้าใจ
ถ้าเรียกว่า เพาเวอร์ซัพพลาย รู้แค่ว่าเป็นแหล่งจ่ายกำลังงาน แต่ไม่รู้ว่าเป็นแบบ conventional หรือ switching
บ้านเราเลยเข้าใจกันเอาเอง แบบ "ยอมรับโดยปริยาย" ว่า....
เร็คกูเลต คือ เพาเวอร์ซัพพลายแบบหม้อแปลง + วงจรเร็กกูเลเตอร์
สวิทซ์ชิ่ง คือ เพาเวอร์ซัพพลายแบบหนึ่งที่มีเร็กกูเลเตอร์ในตัว ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ประหยัดไฟ ยิ่งถ้าเป็นพวกดัดแปลงมาจากซัพพลายของคอมพิวเตอร์ ก็จะได้อานิสงฆ์ ราคาถูก ด้วย
     สุดท้าย ด้วยประโยคยอดฮิต รอท่านอื่นมาเสริมต่อไป
บันทึกการเข้า
tugthawung
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 696


ทักษ์ 0865656561


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2013 เวลา 06:31:03 »

ความหมายของ Regulator=ควบคุม

ด้านล่างเป็นบทความที่คัดลอกมาให้อ่านครับ เพราะเป็นบทความที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายครับ


Power supplies  มีด้วยกัน 4 ชนิด 

1.Unregulated  (หรือเรียกอีกอย่างว่า brute force)
     Unregulated  power  supply  นั้นเป็นแบบธรรมดา ซึ่งประกอบไปด้วย transformer, rectifier และ low-pass filter โดยทั่วไป power supplies ชนิดนี้ จะจ่ายค่า voltage ไม่คงที่ และยังมีสัญญาณ AC มารบกวนในขณะที่จ่ายไฟ DC   ถ้าค่าอินพุท voltage ไม่คงที่ ก็จะทำให้ค่าเอาท์พุท voltage ที่จ่ายออกมาไม่คงที่ไปด้วย
      ข้อดี ของ unregulated supply  ก็คือ ราคาถูก ใช้งานง่าย  และมีประสิทธิภาพ แต่เสถียรภาพตำ

2.Linear regulated
     Linear regulated supply  ก็คือ  unregulated  power  supply  ตามด้วยวงจรทรานซิสเตอร์ที่ทำงานในโหมด "active"  หรือ "linear"  ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า linear regulator โดยทั่วไป linear regulator ถูกออกแบบมาให้จ่ายค่า voltage ตามที่กำหนดสำหรับ input voltages ย่านกว้าง และมันจะลดค่า input voltage ที่เกินมาเพื่อให้สามารถจ่ายค่า output voltage สูงสุดให้แก่โหลด ผลจากการลดค่า input voltage ที่เกินมา  แสดงออกมาในรูปของความร้อน แต่ถ้า input voltage ลดต่ำลง จะทำให้วงจรทรานซิสเตอร์สูญเสียการควบคุม นั้นหมายถึงว่ามันไม่สามารถรักษาระดับ voltage มันทำได้เพียงแค่ลดค่า voltage ที่เกินมาเท่านั้น ไม่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการลดลงของ voltage ที่มาจากภาค brute force ของวงจร เพราะฉะนั้นท่านต้องรักษาระดับของ input voltage ให้สูงกว่า output ที่ต้องการอย่างน้อย 1 ถึง 3 volts ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของ regulator นั้นหมายถึงว่าพลังงานได้จากวงจร regulator จะมีค่าเท่ากับ อย่างน้อย 1 ถึง 3 volts คูณกับกระแสของโหลดทั้งหมด และปลดปล่อยความร้อนออกมามาก จากสาเหตุนี้ทำให้ regulated power supplies ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ และจากการที่ต้องระบายความร้อยที่เกิดขึ้นทำให้มันต้องใช้ตัวระบายความร้อนขนาดใหญ่ส่งผลให้มันมีขนาดใหญ่  หนัก และ ราคาแพง

3.Switching regulated
     Switching regulated power supply ("switcher")   เกิดจากความพยายามรวมข้อดีของการออกแบบทั้ง brute force and linear regulated power supplies ( เล็ก , มีประสิทธิภาพ , และถูก  อีกทั้งยัง "สะอาด", voltage ที่จ่ายออกมาก็คงที่ ) การทำงาน ของ switching power supplies ใช้วิธีการปรับค่าของ AC power line voltage ที่เข้ามาให้เป็น DC แล้วเปลี่ยนมันให้เป็น square-wave AC ที่มีความถี่สูง  โดยผ่าน transistors ที่ทำงานเหมือนสวิทช์เปิด-ปิด แล้วปรับค่า AC voltage ขึ้น-ลง โดยใช้ lightweight transformer จากนั้นเปลี่ยนค่า AC output ให้เป็น DC แล้วกรองสัญญาณก่อนจ่ายค่าออกไป การปรับค่า voltage ทำได้โดยการปรับที่ หม้อแปลงด้าน primary เพื่อเปลี่ยน duty-cycle ของ DC-to-AC inversion เหตุผลที่ switching power supplies มีน้ำหนักเบากว่าแบบอื่นก็เนื่องมาจากแกนของหม้อแปลงที่มีขนาดเล็กกว่า
     
       ข้อดี ของ Switching power supplies ที่ทำให้มันเหนือกว่า 2 แบบแรกคือ power supply แบบนี้สามารถใช้ได้กับระบบไฟฟ้าทุกแบบที่มีในโลกนี้ ด้วยเหตุนี้มันจึงถูกเรียกว่า "universal" power supplies.
 
     ข้อเสีย ของ switching power supplies คือมันค่อนข้างซับซ้อนมากกว่า และ ดูจากการทำงานของมันจะเห็นว่ามันจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวน AC ที่มีความถี่สูงกับสายไฟมาก Switching power supplies ส่วนใหญ่เวลาจ่ายค่าออกมาก็มี voltage ไม่คงที่เช่นกัน Switching power supplies ที่มีราคาถูกนั้นก็มีสัญญาณรบกวนและค่าไม่นิ่ง แย่พอๆ กับ unregulated power supply  ถ้าพูดถึงพวก low-end switching power supplies แล้วก็ไม่ถึงกับไม่มีค่า เพราะมันก็ยังสามารถให้ output voltage ที่คงที่ และมีคุณสมบัติของ "universal" input
     สำหรับ Swithching power supplies ที่มีราคาแพงนั้น ไฟที่จ่ายออกมาจะนิ่งและ มีสัญญาณรบกวนน้อยพอๆกับ แบบ linear ราคาก็แพงใกล้เคียงกับ linear supplies เหตุผลในการเลือกใช้ switching power supplies ที่มีราคาแพง แทนที่จะใช้ linear power supplies ที่ดีๆ ก็คือในกรณีที่ต้องการใช้กับ universal power system หรือต้องการประสิทธิภาพสูง น้ำหนักเบา  และ ขนาดที่เล็กคือ เหตุผลที่ switching power supplies ถูกใช้อย่างกว้างขวางในพวกวงจรคอมพิวเตอร์ที่เป็นดิจิตอล

4.Ripple regulated
    เป็นการผสมผสานกันระหว่าง "brute force" กับ "switching" โดยรวมเอาข้อดีของทั้งสองแบบไว้ในตัวมันเอง Ripple-regulated power supply เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออกแบบวงจร linear regulated: "brute force" power supply (transformer, rectifier, and filter) ประกอบไปด้วย ส่วนหน้าของวงจร แต่ทรานซิสเตอร์ก็ทำงานในโหมด on/off (saturation/cutoff) โดยทำหน้าที่ส่งผ่าน DC power ไปยัง คาปาซิสเตอร์ขนาดใหญ่ เพื่อรักษาระดับ output voltage ให้อยู่ในช่วงสูง และต่ำของค่าที่กำหนด เช่นเดียวกับใน switching power supply เมื่ออยู่ในโหมด "active" หรือ "linear" ทรานซิสเตอร์ ที่อยู่ใน ripple regulator นั้นไม่ยอมให้กระแสผ่านไปได้ หมายความว่าจะมีพลังงานเพียงเล็กน้อยที่จะสูญเสียออกมาในรูปของความร้อน อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดของวงจร Regulation คือ การกระเพื่อมของ voltage ที่จ่ายออกไปซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น DC voltage ผันผวนระหว่างค่า voltage ที่ตั้งไว้สองค่า รวมถึงการกระเพื่อมของ voltage ที่แปรผันไปตามความถี่ของ กระแสของโหลด ซึ่งจะส่งผลให้การกรองสัญญาณ DC power เป็นไปได้ยาก วงจร Ripple regulator เมื่อเทียบกับวงจร switcher แล้วจะดูไม่ซับซ้อนเท่า และไม่มีความจำเป็นจะต้องรองรับ voltage สูงๆจาก power line เหมือนกับที่ ทรานซิสเตอร์ของ switcher ต้องรองรับ นี้ทำให้มันปลอดภัยในการใช้งาน

ผมจึงขอสรุปให้ได้ว่า แหล่งจ่ายไฟที่ดีและมีเสถียรภาพ ต้องมีการ Regulated ครับ
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 19 กรกฎาคม 2013 เวลา 07:17:59 โดย tugthawung » บันทึกการเข้า

jamnonk
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 699


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2013 เวลา 07:04:41 »

คล้ายๆกันแต่ต่างกันที่วงจรครับ ชอบหนัก ก็เร็กกูเลท ถ้าชอบเบาๆ ก็สวิทต์ชิ่ง ครับ
บันทึกการเข้า

จำนงค์ โทร 0897985084
ผู้ดูแล5
ผู้ดูแลระบบ
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 891


ท่านกงซุน


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2013 เวลา 07:20:31 »

ขอบคุณทุกท่านสำหรับข้อมูลที่นำมาแบ่งปันเพื่อนสมาชิกครับ ข้อมูลบางอย่างบางท่านอาจมองว่ารู้แล้วทราบแล้ว แต่สำหรับบางท่านยังไม่ทราบครับ ทางเว็บสนับสนุนข้อมูลดีๆมีประโยชน์สำหรับเพื่อนสมาชิกครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
yin2527
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 111

ยิ่งเลอะ ยิ่งเยอะประสบการณ์

ไม่มี ไม่ให้
Facebook อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2013 เวลา 07:49:40 »

คล้ายๆกันแต่ต่างกันที่วงจรครับ ชอบหนัก ก็เร็กกูเลท ถ้าชอบเบาๆ ก็สวิทต์ชิ่ง ครับ
+2 เรื่องมันยาวถ้าจะให้เหลาก็ประมาณครึ่งวัน ต้องขึ้นครูด้วย 037  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

ยิ่งยศ นิลปั่น
709/54 ม.2 ต.หนองปลิง อ.เมืองนครสวรรค์ 60000  T. 0859119216
  ID LINE : hs6xip

HS6XIP 144.850 MHz สี่แควสัมพันธ์นครสวรรค์  
Customer Service Engineer (ATM) 
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF