โอไมครอน และเชื้อกลายพันธุ์อื่น ๆ คืออะไร วัคซีนจะยังใช้ได้ผลอยู่ไหม
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 25 เมษายน 2024 เวลา 10:57:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ห้ามโพสปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด
หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โอไมครอน และเชื้อกลายพันธุ์อื่น ๆ คืออะไร วัคซีนจะยังใช้ได้ผลอยู่ไหม  (อ่าน 140 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Chanapot
Super Hero Member III
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11551


« เมื่อ: วันที่ 29 พฤศจิกายน 2021 เวลา 22:45:54 »



“โอไมครอน” เป็นเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่กลายพันธุ์อย่างรุนแรงและองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ “น่ากังวล”

คำถามที่สำคัญที่สุดคำถามหนึ่งตอนนี้คือวัคซีนที่เรามีอยู่จะยังใช้ได้ผลอยู่ไหม


เชื้อกลายพันธุ์ใหม่นี้คืออะไร
ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดังกล่าว แรกเริ่มมีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 ก่อนที่ WHO จะตั้งชื่อเรียกให้ตามลำดับตัวอักษรกรีกว่า โอไมครอน เจ้าหน้าที่พบการระบาดในจังหวัดเคาเต็ง (Gauteng) ของแอฟริกาใต้เป็นหลัก โดยขณะนี้มีผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันแล้ว 77 ราย นอกจากนี้ยังพบผู้ติดเชื้อในประเทศบอตสวานาอีก 4 ราย รวมทั้งพบกรณีที่ผู้ติดเชื้อเดินทางจากแอฟริกาใต้ไปยังฮ่องกงด้วยเที่ยวบินตรงอีก 1 ราย

ในโลกมีเชื้อโควิดกลายพันธุ์หลายพันสายพันธุ์แพร่ระบาดอยู่ นั่นเป็นเรื่องปกติเพราะไวรัสทุกชนิดสามารถกลายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ และเชื้อ Sars-CoV-2 ที่ก่อโรคโควิด-19 ก็ไม่มีข้อยกเว้น

เราเรียกเชื้อไวรัสที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมนี้ว่า “เชื้อกลายพันธุ์” องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อคุณสมบัติของเชื้อไวรัส และมักค่อย ๆ หายไปตามกาลเวลา

แต่นาน ๆ ครั้ง เชื้อไวรัสอาจโชคดีที่มีการกลายพันธุ์ในลักษณะที่ช่วยให้มันอยู่รอดและเพิ่มจำนวนขึ้นได้

อย่างไรก็ดี โควิดชนิดใหม่นี้น่ากังวลเป็นพิเศษเพราะมีการกลายพันธุ์ของยีนรวมทั้งสิ้นถึง 50 ตำแหน่ง ซึ่งถือว่าผิดปกติอย่างยิ่งและทำให้มันมีความแตกต่างจากเชื้อโควิดกลายพันธุ์อื่น ๆ

การกลายพันธุ์แบบเหนือความคาดหมายนี้ จัดเป็นการกลายพันธุ์ของโปรตีนบนส่วนหนามของไวรัสถึง 32 ตำแหน่ง ซึ่งส่วนดังกล่าวมีความสำคัญยิ่ง ในการเป็นกุญแจที่ไวรัสใช้ไขประตูเข้าสู่เซลล์ร่างกายมนุษย์

นอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (receptor binding domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่งด้วย ในขณะที่เชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่ร้ายแรงอย่างสายพันธุ์เดลตา มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น

WHO เรียก โควิดกลายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ยกเป็นสายพันธุ์ “น่ากังวล”
“แลมบ์ดา” ไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่โลกจับตา
อนามัยโลก “กังวลอย่างยิ่ง” หลังยอดโควิดในยุโรปพุ่งไม่หยุด
บางคนอาจมียีนอันตราย ทำให้เสี่ยงตายจากโควิดเพิ่มเป็นสองเท่า
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF