KBANK คาดบาทสัปดาห์หน้า 32.20-32.90 เกาะติดสถานการณ์ยูเครน
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 29 มีนาคม 2024 เวลา 05:04:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: 1. อย่าเน้นข้อความด้วยอักษร หรือ เครื่องหมายพิเศษ เช่น +++, !!!,***, ((ขายด่วน)) ฯลฯ
2. อย่าเว้นวรรคตัวอักษรเพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่น ข า ย สิ น ค้า ด่ ว น แ ล้ ว วั น นี้ ฯลฯ
3. อย่าโฆษณา Website หรือมี url ที่หัวข้อโฆษณา และในรายละเอียดรวมทั้งลายเซ็น
(มิเช่นนั้นประกาศของท่านจะเข้าข่ายผิดกฏ และ อาจถูกลบโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า)
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: KBANK คาดบาทสัปดาห์หน้า 32.20-32.90 เกาะติดสถานการณ์ยูเครน  (อ่าน 57 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Cindy700
Super Hero Member III
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13424


« เมื่อ: วันที่ 02 มีนาคม 2022 เวลา 01:15:39 »


KBANK คาดบาทสัปดาห์หน้า 32.20-32.90 เกาะติดสถานการณ์ยูเครน-โควิด-ตัวเลขศก.ไทย-ตปท.

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์ถัดไป (28 ก.พ.-4 มี.ค.) ที่ 32.20-32.90 บาท/ดอลลาร์ จากวันศุกร์ (25 ก.พ.) ปิดตลาดที่ 32.50 บาท/ดอลลาร์

ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ 32.88 บาท/ดอลลาร์ ก่อนฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงสวนทางเงินดอลลาร์ ที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางสัญญาณตึงเครียดของสถานการณ์ยูเครน หลังรัสเซียเริ่มปฏิบัติการทางการทหารกับยูเครน ขณะที่ชาติตะวันตกทยอยประกาศมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่อรัสเซีย

นอกจากนี้เงินบาทยังมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าได้บางส่วนช่วงท้ายสัปดาห์ตามสัญญาณการฟื้นตัวขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยงและภาพรวมของสกุลเงินในเอเชีย

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์หน้า ได้แก่ สถานการณ์ระหว่างยูเครน-รัสเซีย รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนม.ค. ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนก.พ. ของไทย ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และสถานการณ์โควิด-19

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูล PMI และ ISM ภาคการผลิตและภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนโดย ADP เดือนก.พ. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนม.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามข้อมูล PMI ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนก.พ. ของจีน อังกฤษ และยุโรปด้วยเช่นกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF