ข้อควรรู้ของศัพท์เทคนิคทางคอมพิวเตอร์ Part II
WWW.HAMSIAM.IN.TH # แฮมสยามอินไทยแลนด์ HAM COMMUNITY OF THAILAND
วันที่ 29 มีนาคม 2024 เวลา 00:04:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ต้องขออภัย!!! เนื่องจากตอนนี้เว็บไซต์กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา หากมีความผิดพลาดในเว็บประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และจะเป็นการขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง หากท่านนำความผิดพลาดนั้นมาแจ้งให้กับผู้ดูแลฯ แล้วทางเราจะรีบเข้าไปแก้ไขในความผิดพลาดนั้นๆให้เร็วที่สุด
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อควรรู้ของศัพท์เทคนิคทางคอมพิวเตอร์ Part II  (อ่าน 18276 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
HS4YQG
Super Hero Member II
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5891

อิจฉาริษยาเขา เท่ากับจุดไฟเผาตัวเอง


Facebook
« เมื่อ: วันที่ 04 มกราคม 2014 เวลา 10:10:45 »


มากันแล้วสำหรับ   Part  II
1. BCC (Blind Cabon Copy) เป็นการส่งสำเนา Email แบบซ่อนไม่ให้ผู้รับต้นทางมองเห็นสำเนาที่ส่งซ่อนไปให้บุคคลที่สาม
2. Bitmap เป็น Format ในการจัดเก็บรูปภาพแบบจุด นามสกุลไฟล์จะเป็น BMP
3. Broadcast เป็นวิธีการกระจายข้อมูลไฟล์เสียงหรือ VDO ไปยังผู้รับชมหรือรับฟังต่างๆ ผ่านระบบ Network
4. Browser โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
5. Bug จุดบกพร่องในทางคอมพิวเตอร์ (software bug)
6. Burn หมายถึงการเขียนแผ่น CD,DVD,Blu-ray
7. Captcha คือการทดสอบเพื่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แบบโต้ตอบชนิดหนึ่ง เพื่อทดสอบว่าผู้ใช้งานเป็นมนุษย์จริงหรือไม่ (ว่าไม่ใช่บอตหรือโปรแกรมอัตโนมัติ) คำว่า CAPTCHA ย่อมาจาก “Completely Automated Public Turing test to tell Computers and Humans Apart” (การทดสอบของทัวริงสาธารณะแบบอัตโนมัติเพื่อแยกแยะว่าเป็นคอมพิวเตอร์กับมนุษย์อย่างสมบูรณ์)
8. Cookie ไฟล์ขนาดเล็กที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้เว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต
9. Emoticon หรือ สไมลี่ (smiley) คือชุดของตัวอักษรเช่น  , , หรือ  หรือภาพขนาดเล็ก ที่มีจุดประสงค์เพื่อแสดงสีหน้าของมนุษย์ และสื่อถึงอารมณ์ อีโมติคอนเป็นรูปแบบหนึ่งของลักษณะน้ำเสียงที่ใช้กันแพร่หลายในข้อความอีเมล, ในกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์, และในแชทรูม คำว่า emoticon ในภาษาอังกฤษ มาจากการผสมคำว่า emotion (อารมณ์) และ icon (สัญลักษณ์) เข้าด้วยกัน
10.Firewall ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย หน้าที่ของไฟร์วอลล์คือเป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสารระหว่างเขตที่เชื่อถือต่างกัน เช่น อินเทอร์เน็ต (อาจนับเป็นเขตที่เชื่อถือไม่ได้) และ อินทราเน็ต (เขตที่เชื่อถือได้) โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย ระดับโพรโทคอลของระบบเครือข่าย ความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลมีช่องโหว่ อาจนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้
11. Firmware ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์ปัจจุบัน คือซอฟต์แวร์ที่ฝังอยู่ในฮาร์ดแวร์ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถอ่าน และเรียกใช้งานเฟิร์มแวร์ได้ แต่ไม่สามารถแก้ไข เขียน หรือลบเฟิร์มแวร์ได้ แต่ในทางปฏิบัติทั่วไป สามารถที่จะใช้โปรแกรมเฉพาะด้านในการเข้าไปเพื่อเขียนข้อมูลบนฮาร์ดแวร์ดังกล่าวได้
12. Freeware “ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า
ฟรีแวร์นั้นคล้ายกับแชร์แวร์ (shareware) คือสามารถใช้ได้ทุกจุดประสงค์เหมือนกัน แต่แชร์แวร์อาจมีระยะเวลาทดลองใช้และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อต่ออายุ หรือเปิดฟังก์ชันการใช้งานที่สมบูรณ์ และฟรีแวร์ต่างจากซอฟต์แวร์เสรี (free software) คือ ซอฟต์แวร์เสรีอนุญาตให้เปิดเผยรหัสต้นฉบับและอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปพัฒนาต่อได้ ในขณะที่ฟรีแวร์ไม่อนุญาต”
13. Hands-Free เป็น Mode การทำงานของ Bluetooth แบบหนึ่งที่รองรับในการสั่งงานด้วยเสียง
14. bps (bit per second) คือหน่วยนับความเร็วของข้อมูลคิดเป็น บิตต่อวินาที
15. Byte คือหน่วยนับขนาดของข้อมูล
16. Coverage ขอบเขตการให้บริการสัญญาณโทรศัพท์
17. Default ค่ามาตรฐานที่ถูกตั้งค่ามาจากโรงงานผู้ผลิต
18. Encryption การเข้ารหัสเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
19. FDMA (Frequency Division Multiple Access) รูปแบบการรับส่งข้อมูลผ่านความถี่วิทยุ โดยอาศัยตัวความถี่ 1 ความถี่ในการรับส่งข้อมูล แตกต่างกันกับระบบ TDMA ที่นำความถี่ 1 ความถี่มาแบ่งเป็นการใช้งานตามช่วงเวลา ซึ่งแบบ TDMA จะเป็นการบริหารจัดการความถี่ในการนำมาใช้งานที่ได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า
20. GUI ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface, GUI อ่านว่า จียูไอ หรือ กูอี้) เป็นวิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทางสัญลักษณ์หรือภาพนอกเหนือจากทางตัว อักษร จียูไอมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น ไอคอน หน้าต่างการใช้งาน เมนู ปุ่มเลือก และการใช้เมาส์ หรือแม้แต่ในระบบทัชสกรีน
21. HDTV “โทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-definition television หรือ HDTV) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ที่มีความละเอียดของภาพมากกว่าสัญญาณโทรทัศน์แบบดั้งเดิม (NTSC, SÉCAM, PAL) สัญญาณจะถูกแพร่ภาพในระบบดิจิทัล (ยกเว้นระบบอะนาล็อกในช่วงแรก ที่ประเทศเยอรมนี สหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ)
สัญญาณที่ใช้กับ HDTV ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
* จำนวนเส้นในการแสดงผล
* Progressive scan หรือ Interlace
* จำนวน frame หรือ field ต่อวินาที
ตัวอย่างเช่น 1080i50 หรือ 1080p60 เป็นต้น”
22. Hertz (Hz) “เฮิรตซ์ (อังกฤษ: hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วยของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ
1Hz = 1 / S
ดังนั้น 50 Hz หมายถึงมีความถี่เท่ากับ 50 ครั้งต่อ 1 วินาที
hertz มาจากชื่อนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ Heinrich Rudolf Hertz เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้าน แม่เหล็กไฟฟ้า
หน่วย hertz ได้กำหนดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) แล้วเริ่มมาใช้แทน หน่วย รอบต่อวินาที (cycles per second หรือ cps) ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) หน่วย Hz ได้ใช้ทดแทนการใช้ cps แทบทั้งหมด”
23. HLR (Home Location Register) เป็นอุปกรณ์ในระบบ Network ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล Profile บริการต่างๆ ของผู้ใช้งานเช่น สามารถใช้งาน GPRS ได้หรือไม่ เป็นต้น
24. IMSI (International Mobile Subscriber Identifier) เป็นหมายเลขของระบบ SIM ในโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งจะมีการกำหนด รหัสประเทศ รหัสผู้ให้บริการไว้ด้วย เช่น 52099xxxxxxxxxx ตัวเลข 520 คือประเทศไทย 99 คือผุ้บริการ TrueMove
24. IRC (Internet Relay Chat) เป็นรูปแบบในการพูดคุยบนอินเทอร์เน็ต โดยมีรูปแบบในการสนทนาแบบกลุ่ม ใน 1 กลุ่มสนทนาเรียกว่า ช่อง (channel) แต่ก็ยังเปิดให้สนทนาแบบ หนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง ผ่านระบบส่งข้อความส่วนตัว
26. ITU (International Telecommunication Union) “สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Telecommunication Union – ชื่อย่อ: ITU) เป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งนับเป็นองค์การสากลที่เก่าแก่มากที่สุดอันดับสอง ที่ยังคงดำเนินการอยู่ โดยในระยะแรกเริ่ม ใช้ชื่อว่า สหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Telegraph Union) จัดตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1865 (พ.ศ. 2408) ปัจจุบัน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ใกล้กับสำนักงานสหประชาชาติ
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ มีหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐาน และกฎระเบียบ สำหรับการสื่อสารวิทยุ และโทรคมนาคมระหว่างประเทศ การกำหนดแถบคลื่นความถี่วิทยุ (อังกฤษ: Allocation of the Radio Spectrum) และบริหารจัดการ กรณีที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศ เช่น บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ อันเป็นภารกิจในเชิงโทรคมนาคม ในลักษณะเดียวกับการปฏิบัติงานของสหภาพสากลไปรษณีย์ ในกรณีของงานบริการไปรษณีย์”
27. Java เป็นรูปแบบของภาษาในการเขียนโปรแกรมชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาจากบริษัท Sun Microsystems
28. JPEG (Joint Photographic Experts Group ) เป็น Format ในการจัดเก็บรูปภาพแบบจุด แต่สามารถบีบอัดขนาดให้เล็กกว่า Bitmap นามสกุลของไฟล์จะเป็น JPG
29. Kbps คือหน่วยนับความเร็วของข้อมูลคิดเป็น กิโลบิตต่อวินาที
30. MAC Address เป็นหมายเลขของอุปกรณ์สื่อสาร ซึ่งจะมีหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน ประกอบไปด้วยตัวเลขฐาน 16 จำนวน 6 คู่ เช่น 00-12-79-D9-FB-60
31. Mbps เป็นหน่วยที่ใช้ในการนับข้อมูลเป็น 1,000,000 bits ต่อวินาที
32. MHz (Megahertz) เป็นหน่วยที่ใช้นับความถี่วิทยุ หน่วยเป็น ล้านครั้งต่อวินาที
33. Multitasking การประมวลผลทำงานพร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นในคอมพิวเตอร์มีการทำงานแบบ Multitasking กล่าวคือสามารถใช้งาน Software พร้อมๆ กันได้หลายโปรแกรมในช่วงเวลาเดียวกัน
34. Pair Bluetooth การจับคู่ของอุปกรณ์ Bluetooth โดยการจับคู่กันจะต้องมีการใส่รหัสให้ตรงกันระหว่าง 2 อุปกรณ์ที่ต้องการจับคู่
35. Partition การแบ่งพื้นที่อุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลออกเป็นส่วนๆ ยกตัวอย่างเช่น Harddisk ของคอมพิวเตอร์ต้องการแบ่งออกเป็น 2 Drive วิธีการแบบนี้เรียกว่าการแบ่ง Partition
36. Personal Identification Number (PIN) หมายเลขรหัสผ่านที่ถูกกำหนดขึ้นมาเป็นเลขพื้นฐาน 4 หลักจากผุ้ให้บริการโทรศัพท์ ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนรหัสนี้ได้เป็นรหัสหมายเลขที่ต้องการ
37. PIN Unblocking Key (PUK) หมายเลขรหัสผ่านที่ถูกกำหนดขึ้นมาเป็นเลขพื้นฐาน 10 หลักจากผุ้ให้บริการโทรศัพท์ เพื่อใช้ในการปลดล็อครหัส PIN ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหมายเลขรหัสนี้ได้
38. Pixel “เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด)ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้  จอภาพที่มีจำนวนพิกเซลมาก จะมีความละเอียดของภาพมาก โดยมากจะระบุจำนวนพิกเซลแนวนอน x แนวตั้ง เช่น 1366 x 768 พิกเซล
คำว่า “”พิกเซล”" (pixel) มาจากคำว่า “”พิกเจอร์”" (picture) ที่แปลว่า รูปภาพ และ “”เอเลเมนต์”" (element) ที่แปลว่า องค์ประกอบ”
39. Podcast “พอดแคสติง (Podcasting) คือขั้นตอนของการเผยแพร่เสียง รวมไปถึงการพูดคุย เล่าเรื่อง สนทนาเรื่องต่างๆ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต เริ่มได้รับความนิยมในช่วงปลายปี พ.ศ. 2547 โดยผู้รับฟังสามารถสมัครที่จะเลือกรับฟังเสียงหรือเพลง (โดยปกติจะเป็นในลักษณะ MP3) ผ่านทางระบบฟีด (feed) โดยตัวฟีดนี้จะทำงานอัตโนมัติ เพื่อทำการดาวน์โหลดไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ เข้าสู่ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา (หรือที่เรียกว่า MP3 เพลเยอร์)
จุดเริ่มต้นเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2547 โดยความคิดของ อดัม เคอรรี่ ร่วมกับ เดฟ วินเนอร์ สร้างโปรแกรม iPodder ขึ้นมา เพื่อเป็นการนำข้อมูลเสียงจากอินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรมบรรจุลงไปที่เครื่องเล่น MP3 ชื่อ ไอพอด”
40. Proxy “พร็อกซี คือเซิร์ฟเวอร์ (ระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมประยุกต์) ที่ทำงานโดยการเป็นตัวกลางในการหาข้อมูลตามคำขอของเครื่องลูกข่ายจากเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ กล่าวคือเครื่องลูกข่ายเชื่อมต่อไปที่ พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์เพื่อขอใช้งานบางบริการ เช่น ไฟล์ การเชื่อมต่อ เว็บเพจ หรือทรัพยากรต่าง ๆ จากเซิร์ฟเวอร์อื่น จากนั้น พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์จะทำการคัดกรองด้วยกฏที่ตั้ง ตัวอย่างเช่น คัดกรองจาก หมายเลขไอพี, Protocol หลังจากนั้นถ้าการขอผ่านการคัดกรอง พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์จะจัดหาข้อมูลตามคำร้องขอจากเซิร์ฟเวอร์อื่นแทนเครื่องลูกข่าย
พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์มีสองจุดประสงค์คือ:
* เพื่อให้เครื่องลูกข่ายซ่อนตัว (โดยส่วนใหญ่ เพื่อความปอดภัย)
* เพื่อความเร็วของการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น, โดยการเก็บเว็บเพจจากเว็บเซิร์ฟเวอร์

41. QWERTY คือรูปแบบการจัดเรียงผังแป้นพิมพคีย์บอร์ด
42. RAM “แรม (RAM: Random Access Memory หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือหน่วยความจำชั่วคราว) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุค ปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น”
43. Real-Time เป็นรูปแบบวิธีการในการส่งไฟล์ภาพหรือเสียงแบบทันทีทันใด กล่าวคือเมื่อมีการเปิดไฟล์ VDO หรือ เสียง จาก Internet จะสามารถเปิดฟังหรือดูได้ในทันที โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการ Download ไฟล์นั้นๆ ให้จบเสียก่อน
44. Roaming ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) ” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
45. Roaming Agreement ข้อตกลงระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตั้งแต่ 2 บริษัทหรือมากกว่านั้น ในการให้บริการลูกค้าของตนเองหรือบริษัทคู่สัญญา ณ ขณะที่ลูกค้าตนเองหรือลูกค้าบริษัทคู่สัญญาเดินทางไปในต่างประเทศ เพื่อใช้งานโครงข่ายของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่มีสัญญาร่วมกันในการใช้งาน
46. ROM รอม (ROM: Read-only Memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้ โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้ว
47. Sleep Mode เป็นรูปแบบของการทำงานบนโทรศัพท์ที่ถูกออกแบบมาให้ประหยัดพลังงาน ณ ขณะที่ไม่มีการใช้งานจะทำการปิดการทำงานต่อเมื่อมีการโทรเข้าหรือสัมผัสปุ่มหรือหน้าจอตัวเครื่องจะกลับมาทำงานอีกครั้ง
48. Smart Card “สมาร์ตการ์ด เป็นบัตรพลาสติกชนิดหนึ่ง มีขนาดเท่ากับบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็ม  สมาร์ตการ์ด แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
สมาร์ตการ์ดแบบสัมผัส ตัวบัตรมีการฝังชิปสีทองขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้วไว้ที่ด้านหน้าของบัตร ตอนใช้งานต้องสอดบัตรเข้าในเครื่องอ่าน หรือสัมผัสด้านนอกกับเครื่องอ่านบัตร ส่วนใหญ่จะเป็นกับบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็ม ปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้สมาร์ตการ์ดชนิดนี้ทำบัตรประจำตัวประชาชน บัตรโดยสารของรถไฟฟ้า บีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือซิมการ์ด ปัจจุบันมีการทำบัตรเครดิตที่เป็นสมาร์ทการ์ดแบบสัมผัสด้วยเป็นบัตรวีซ่า pay wave เช่น บัตรบลูการ์ด
สมาร์ตการ์ดแบบไม่มีการสัมผัส ตัวบัตรจะมีการฝังชิปและขดลวดสายอากาศเอาไว้ สามารถติดต่อกับเครื่องรับส่งสัญญาณได้ในระยะที่กำหนด โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกับเครื่องดังกล่าว ส่วนใหญ่จะใช้กับบัตรเก็บเงินทางด่วน เป็นต้น

50. Smart Phone เป็นรูปแบบโทรศัพท์ที่มีความสามารถหลากหลายมากกว่าเพียงแค่พูดคุย ซึ่งส่วนใหญ่จะผนวก Keyboard มาให้ด้วย
14. bps (bit per second) คือหน่วยนับความเร็วของข้อมูลคิดเป็น บิตต่อวินาที
15. Byte คือหน่วยนับขนาดของข้อมูล
16. Coverage ขอบเขตการให้บริการสัญญาณโทรศัพท์
17. Default ค่ามาตรฐานที่ถูกตั้งค่ามาจากโรงงานผู้ผลิต
18. Encryption การเข้ารหัสเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
19. FDMA (Frequency Division Multiple Access) รูปแบบการรับส่งข้อมูลผ่านความถี่วิทยุ โดยอาศัยตัวความถี่ 1 ความถี่ในการรับส่งข้อมูล แตกต่างกันกับระบบ TDMA ที่นำความถี่ 1 ความถี่มาแบ่งเป็นการใช้งานตามช่วงเวลา ซึ่งแบบ TDMA จะเป็นการบริหารจัดการความถี่ในการนำมาใช้งานที่ได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า
20. GUI ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface, GUI อ่านว่า จียูไอ หรือ กูอี้) เป็นวิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทางสัญลักษณ์หรือภาพนอกเหนือจากทางตัว อักษร จียูไอมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น ไอคอน หน้าต่างการใช้งาน เมนู ปุ่มเลือก และการใช้เมาส์ หรือแม้แต่ในระบบทัชสกรีน
21. HDTV “โทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-definition television หรือ HDTV) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ที่มีความละเอียดของภาพมากกว่าสัญญาณโทรทัศน์แบบดั้งเดิม (NTSC, SÉCAM, PAL) สัญญาณจะถูกแพร่ภาพในระบบดิจิทัล (ยกเว้นระบบอะนาล็อกในช่วงแรก ที่ประเทศเยอรมนี สหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ)
สัญญาณที่ใช้กับ HDTV ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
* จำนวนเส้นในการแสดงผล
* Progressive scan หรือ Interlace
* จำนวน frame หรือ field ต่อวินาที
ตัวอย่างเช่น 1080i50 หรือ 1080p60 เป็นต้น“
22. Hertz (Hz) “เฮิรตซ์ (อังกฤษ: hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วยของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ
1Hz = 1 / S
ดังนั้น 50 Hz หมายถึงมีความถี่เท่ากับ 50 ครั้งต่อ 1 วินาที
hertz มาจากชื่อนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ Heinrich Rudolf Hertz เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้าน แม่เหล็กไฟฟ้า
หน่วย hertz ได้กำหนดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) แล้วเริ่มมาใช้แทน หน่วย รอบต่อวินาที (cycles per second หรือ cps) ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) หน่วย Hz ได้ใช้ทดแทนการใช้ cps แทบทั้งหมด”
23. HLR (Home Location Register) เป็นอุปกรณ์ในระบบ Network ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล Profile บริการต่างๆ ของผู้ใช้งานเช่น สามารถใช้งาน GPRS ได้หรือไม่ เป็นต้น
24. IMSI (International Mobile Subscriber Identifier) เป็นหมายเลขของระบบ SIM ในโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งจะมีการกำหนด รหัสประเทศ รหัสผู้ให้บริการไว้ด้วย เช่น 52099xxxxxxxxxx ตัวเลข 520 คือประเทศไทย 99 คือผุ้บริการ TrueMove
24. IRC (Internet Relay Chat) เป็นรูปแบบในการพูดคุยบนอินเทอร์เน็ต โดยมีรูปแบบในการสนทนาแบบกลุ่ม ใน 1 กลุ่มสนทนาเรียกว่า ช่อง (channel) แต่ก็ยังเปิดให้สนทนาแบบ หนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง ผ่านระบบส่งข้อความส่วนตัว
26. ITU (International Telecommunication Union) “สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Telecommunication Union – ชื่อย่อ: ITU) เป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งนับเป็นองค์การสากลที่เก่าแก่มากที่สุดอันดับสอง ที่ยังคงดำเนินการอยู่ โดยในระยะแรกเริ่ม ใช้ชื่อว่า สหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Telegraph Union) จัดตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1865 (พ.ศ. 2408) ปัจจุบัน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ใกล้กับสำนักงานสหประชาชาติ
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ มีหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐาน และกฎระเบียบ สำหรับการสื่อสารวิทยุ และโทรคมนาคมระหว่างประเทศ การกำหนดแถบคลื่นความถี่วิทยุ (อังกฤษ: Allocation of the Radio Spectrum) และบริหารจัดการ กรณีที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศ เช่น บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ อันเป็นภารกิจในเชิงโทรคมนาคม ในลักษณะเดียวกับการปฏิบัติงานของสหภาพสากลไปรษณีย์ ในกรณีของงานบริการไปรษณีย์”
27. Java เป็นรูปแบบของภาษาในการเขียนโปรแกรมชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาจากบริษัท Sun Microsystems
28. JPEG (Joint Photographic Experts Group ) เป็น Format ในการจัดเก็บรูปภาพแบบจุด แต่สามารถบีบอัดขนาดให้เล็กกว่า Bitmap นามสกุลของไฟล์จะเป็น JPG
29. Kbps คือหน่วยนับความเร็วของข้อมูลคิดเป็น กิโลบิตต่อวินาที
30. MAC Address เป็นหมายเลขของอุปกรณ์สื่อสาร ซึ่งจะมีหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน ประกอบไปด้วยตัวเลขฐาน 16 จำนวน 6 คู่ เช่น 00-12-79-D9-FB-60
31. Mbps เป็นหน่วยที่ใช้ในการนับข้อมูลเป็น 1,000,000 bits ต่อวินาที
32. MHz (Megahertz) เป็นหน่วยที่ใช้นับความถี่วิทยุ หน่วยเป็น ล้านครั้งต่อวินาที
33. Multitasking การประมวลผลทำงานพร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นในคอมพิวเตอร์มีการทำงานแบบ Multitasking กล่าวคือสามารถใช้งาน Software พร้อมๆ กันได้หลายโปรแกรมในช่วงเวลาเดียวกัน
34. Pair Bluetooth การจับคู่ของอุปกรณ์ Bluetooth โดยการจับคู่กันจะต้องมีการใส่รหัสให้ตรงกันระหว่าง 2 อุปกรณ์ที่ต้องการจับคู่
35. Partition การแบ่งพื้นที่อุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลออกเป็นส่วนๆ ยกตัวอย่างเช่น Harddisk ของคอมพิวเตอร์ต้องการแบ่งออกเป็น 2 Drive วิธีการแบบนี้เรียกว่าการแบ่ง Partition
36. Personal Identification Number (PIN) หมายเลขรหัสผ่านที่ถูกกำหนดขึ้นมาเป็นเลขพื้นฐาน 4 หลักจากผุ้ให้บริการโทรศัพท์ ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนรหัสนี้ได้เป็นรหัสหมายเลขที่ต้องการ
37. PIN Unblocking Key (PUK) หมายเลขรหัสผ่านที่ถูกกำหนดขึ้นมาเป็นเลขพื้นฐาน 10 หลักจากผุ้ให้บริการโทรศัพท์ เพื่อใช้ในการปลดล็อครหัส PIN ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหมายเลขรหัสนี้ได้
38. Pixel “เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด)ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้ จอภาพที่มีจำนวนพิกเซลมาก จะมีความละเอียดของภาพมาก โดยมากจะระบุจำนวนพิกเซลแนวนอน x แนวตั้ง เช่น 1366 x 768 พิกเซล
คำว่า “”พิกเซล”" (pixel) มาจากคำว่า “”พิกเจอร์”" (picture) ที่แปลว่า รูปภาพ และ “”เอเลเมนต์”" (element) ที่แปลว่า องค์ประกอบ”
39. Podcast “พอดแคสติง (Podcasting) คือขั้นตอนของการเผยแพร่เสียง รวมไปถึงการพูดคุย เล่าเรื่อง สนทนาเรื่องต่างๆ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต เริ่มได้รับความนิยมในช่วงปลายปี พ.ศ. 2547 โดยผู้รับฟังสามารถสมัครที่จะเลือกรับฟังเสียงหรือเพลง (โดยปกติจะเป็นในลักษณะ MP3) ผ่านทางระบบฟีด (feed) โดยตัวฟีดนี้จะทำงานอัตโนมัติ เพื่อทำการดาวน์โหลดไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ เข้าสู่ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา (หรือที่เรียกว่า MP3 เพลเยอร์)
จุดเริ่มต้นเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2547 โดยความคิดของ อดัม เคอรรี่ ร่วมกับ เดฟ วินเนอร์ สร้างโปรแกรม iPodder ขึ้นมา เพื่อเป็นการนำข้อมูลเสียงจากอินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรมบรรจุลงไปที่เครื่องเล่น MP3 ชื่อ ไอพอด”
40. Proxy “พร็อกซี คือเซิร์ฟเวอร์ (ระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมประยุกต์) ที่ทำงานโดยการเป็นตัวกลางในการหาข้อมูลตามคำขอของเครื่องลูกข่ายจากเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ กล่าวคือเครื่องลูกข่ายเชื่อมต่อไปที่ พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์เพื่อขอใช้งานบางบริการ เช่น ไฟล์ การเชื่อมต่อ เว็บเพจ หรือทรัพยากรต่าง ๆ จากเซิร์ฟเวอร์อื่น จากนั้น พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์จะทำการคัดกรองด้วยกฏที่ตั้ง ตัวอย่างเช่น คัดกรองจาก หมายเลขไอพี, Protocol หลังจากนั้นถ้าการขอผ่านการคัดกรอง พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์จะจัดหาข้อมูลตามคำร้องขอจากเซิร์ฟเวอร์อื่นแทนเครื่องลูกข่าย
พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์มีสองจุดประสงค์คือ:
* เพื่อให้เครื่องลูกข่ายซ่อนตัว (โดยส่วนใหญ่ เพื่อความปอดภัย)
* เพื่อความเร็วของการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น, โดยการเก็บเว็บเพจจากเว็บเซิร์ฟเวอร์

41. QWERTY คือรูปแบบการจัดเรียงผังแป้นพิมพคีย์บอร์ด
42. RAM “แรม (RAM: Random Access Memory หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือหน่วยความจำชั่วคราว) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุค ปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น”
43. Real-Time เป็นรูปแบบวิธีการในการส่งไฟล์ภาพหรือเสียงแบบทันทีทันใด กล่าวคือเมื่อมีการเปิดไฟล์ VDO หรือ เสียง จาก Internet จะสามารถเปิดฟังหรือดูได้ในทันที โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการ Download ไฟล์นั้นๆ ให้จบเสียก่อน
44. Roaming ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) ” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
45. Roaming Agreement ข้อตกลงระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตั้งแต่ 2 บริษัทหรือมากกว่านั้น ในการให้บริการลูกค้าของตนเองหรือบริษัทคู่สัญญา ณ ขณะที่ลูกค้าตนเองหรือลูกค้าบริษัทคู่สัญญาเดินทางไปในต่างประเทศ เพื่อใช้งานโครงข่ายของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่มีสัญญาร่วมกันในการใช้งาน
46. ROM รอม (ROM: Read-only Memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้ โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้ว
47. Sleep Mode เป็นรูปแบบของการทำงานบนโทรศัพท์ที่ถูกออกแบบมาให้ประหยัดพลังงาน ณ ขณะที่ไม่มีการใช้งานจะทำการปิดการทำงานต่อเมื่อมีการโทรเข้าหรือสัมผัสปุ่มหรือหน้าจอตัวเครื่องจะกลับมาทำงานอีกครั้ง
48. Smart Card “สมาร์ตการ์ด เป็นบัตรพลาสติกชนิดหนึ่ง มีขนาดเท่ากับบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็ม สมาร์ตการ์ด แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
สมาร์ตการ์ดแบบสัมผัส ตัวบัตรมีการฝังชิปสีทองขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้วไว้ที่ด้านหน้าของบัตร ตอนใช้งานต้องสอดบัตรเข้าในเครื่องอ่าน หรือสัมผัสด้านนอกกับเครื่องอ่านบัตร ส่วนใหญ่จะเป็นกับบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็ม ปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้สมาร์ตการ์ดชนิดนี้ทำบัตรประจำตัวประชาชน บัตรโดยสารของรถไฟฟ้า บีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือซิมการ์ด ปัจจุบันมีการทำบัตรเครดิตที่เป็นสมาร์ทการ์ดแบบสัมผัสด้วยเป็นบัตรวีซ่า pay wave เช่น บัตรบลูการ์ด
สมาร์ตการ์ดแบบไม่มีการสัมผัส ตัวบัตรจะมีการฝังชิปและขดลวดสายอากาศเอาไว้ สามารถติดต่อกับเครื่องรับส่งสัญญาณได้ในระยะที่กำหนด โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกับเครื่องดังกล่าว ส่วนใหญ่จะใช้กับบัตรเก็บเงินทางด่วน เป็นต้น

50. Smart Phone เป็นรูปแบบโทรศัพท์ที่มีความสามารถหลากหลายมากกว่าเพียงแค่พูดคุย ซึ่งส่วนใหญ่จะผนวก Keyboard มาให้ด้วย

http://www.thailand.net/
บันทึกการเข้า

ติดต่อสอบถามได้ที่  โทร/ LINE ID: 0833687201
bbch
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 241


รู้หน้า ไม่รู้ใจ


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 04 มกราคม 2014 เวลา 11:15:08 »

ขอบคุณครับ ความรู้เพียบเลย  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

[สุดประจิมที่ริมเมย]
dpc9.ddc.moph.go.th/
O83-2I3863O
nava001
Sr. Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 04 มิถุนายน 2014 เวลา 18:48:55 »



ขอบคุณครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Boonnom
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


**สมัครมาเพื่อวางลิงค์ แบนตลอดชีวิต**


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 11 กรกฎาคม 2015 เวลา 15:44:56 »

ก็ถือได้ว่าเป็นศัพท์สำคำๆมากเลยนะครับ
บันทึกการเข้า

**สมัครมาเพื่อวางลิงค์ แบนตลอดชีวิต**
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เริ่มนับสถิติตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 18.24.52 น. (วันและเวลาตอนเปิดเว็บ)
รวมเพ็จวิวทั้งสิ้นจนถึงวันนี้ free counter ครั้ง

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF